วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2566

ข้อคิดจากโค้ชอัง

 เดินทางผ่านปีใหม่มา 6 วันแล้ว ยังไม่รู้เลยว่า เป้าหมายปีนี้คืออะไร..


นั่นหมายความว่า #ถึงเวลาแล้วนะคะ ที่จะต้องกลับมาตั้งเป้ากัน 

:

#เทคนิคการตั้งเป้าหมายที่แนะนำวันนี้ คือการตั้งเป้าหมายโดยใช้ตัวเราเป็นจุดเริ่มต้น 

ลองดูว่า เราต้องการเปลี่ยนแปลงตัวเองไปในทางที่ดีขึ้น อย่างไรบ้าง 

:

ไม่ว่าจะเป็น #เรื่องสุขภาพ (ต้องมาอย่างแรก) หากเราปวดเมื่อยเป็นประจำ เป้าหมายปีนี้คือ ต้องหายปวดเมื่อยให้ได้ เป็นต้น อย่าปล่อยให้ข้ามไปอีก 1 ปี


#เรื่องการงาน หากเราไม่มีความสุขกับการทำงาน เป้าหมายปีนี้ อาจต้องดูว่า จะทำอย่างไร ให้ตัวเองมีความสุขกับการทำงาน


หากเป้าหมายคือ #เรื่องความรัก (คนรัก) สิ่งแรกที่เราอาจต้องกลับมามองก่อนคือ เรารักตัวเองมากพอหรือยัง เราเห็นคุณค่าตัวเองไหม ถ้าเรารัก และเห็นคุณค่าตนเองมากพอ เราจะวางเรื่องความรัก และคนรัก ลง และ #หันกลับมาโฟกัสที่ตัวเอง เมื่อความรักตัวเอง เห็นคุณค่าตัวเอง ได้รับการเติมเต็ม สิ่งนี้จะไปดึงดูด คนรัก และความรักดีๆ เข้ามาสู่ตัวเรา

:

ส่วน #เรื่องการเงิน แทนที่เราจะมองเส้นทางหารายได้เพิ่มขึ้น เราอาจเริ่มต้นจาก ลดภาระ ค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในชีวิตก่อน เพราะสิ่งนั้น อาจไม่สร้างความสุข ระยะยาวให้กับเรา และเมื่อเราลดจุดนี้ได้ เราอาจจะเห็นโอกาส ต่อยอดทางการเงิน จากจุดนี้ เพื่อไปสู่จุดต่อๆไปนะคะ

:

เริ่มต้นไปด้วยกัน ฝึกฝนไปด้วยกันค่ะ ❤️

:

#ด้วยรักและศรัทธาในการแบ่งปัน

:

โค้ชอัง

:

รับการแจ้งเตือน , พูดคุยกับโค้ช รับบทเรียนฝึกฝน กดแอดไลน์ มาที่ 👉 http://bit.ly/coachaun

วันพุธที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2560

สุขภาพครอบครัว

บทความวิจัย การศึกษาสุขภาพครอบครัวที่อาศัยในจังหวัดอุตรดิตถ์
A Study of Family Health of Families Living in Uttaradit Province
เพ็ญจรินทร์ ธนเกริกเกียรติ (Penjarin Thanakroekkiat) *
จันทกานต์ กาญจนเวทางค์ (Jantakan Kanjanawetang) **
วรรณวดี เนียมสกุล (Wanwadee Neamskul)***
บทคัดย่อ สุขภาพครอบครัว คือ สภาวะการดำรงชีวิตของสมาชิกและครอบครัวโดยรวม โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ครอบครัวได้มาซึ่งศักยภาพในการคงไว้ รักษา ป้องกัน ส่งเสริม และฟื้นฟูความอยู่ดีมีสุขของสมาชิกและครอบครัวโดยรวม ซึ่งสภาวะการดำรงชีวิตนี้มีลักษณะเป็นกระบวนการที่มี การเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกครอบครัว การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะทั่วไปและสำรวจสุขภาพของครอบครัวที่อาศัยในจังหวัดอุตรดิตถ์ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลด้วยแบบวัดสุขภาพครอบครัวไทย ระหว่างเดือนมิถุนายน 2552 ถึงมกราคม 2553 จำนวน 440 ครัวเรือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าสถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1. ลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง เป็นครอบครัวเดี่ยว (ร้อยละ 47.00) รองลงมาคือ ครอบครัวขยาย (ร้อยละ 36.80 ) และครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว (ร้อยละ 16.20) ประกอบอาชีพเกษตรกรรม (ร้อยละ 35.08) และรับจ้าง (ร้อยละ 32.36) มีรายได้ต่ำกว่า 5,000 บาท (ร้อยละ 38.90) และระหว่าง 5,000-10,000 บาท (ร้อยละ 30.00) เมื่อพิจารณาถึงเศรษฐกิจของครอบครัวพบว่า มีเพียงร้อยละ 58.90 ที่มีรายได้เพียงพอต่อการใช้จ่ายและเหลือเก็บ และร้อยละ 18.20 มีรายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่าย อาศัยอยู่ในบ้านของตนเอง (ร้อยละ 94.80) โดยอาศัยอยู่มานานกว่า 30 ปี ถึงร้อยละ 66.40 มีสมาชิกที่ต้องพึ่งพา (ร้อยละ 52.30) ประกอบด้วยครอบครัวที่มีเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี (ร้อยละ 42.00) ผู้สูงอายุ (ร้อยละ 37.50) ผู้เจ็บป่วยเรื้อรัง (ร้อยละ 32.30) และผู้พิการ (ร้อยละ 7.50) 2. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีสุขภาพครอบครัวโดยรวมอยู่ในระดับดี ( = 4.18, SD = 0.41) เมื่อแยกรายด้านพบว่าด้านที่อยู่ในระดับดี ได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อมของครอบครัว ด้านการทำหน้าที่ของครอบครัว และ ด้านกิจวัตรสุขภาพของครอบครัว ( = 4.30, SD = 0.46 , = 4.19, SD = 0.48, = 4.13, SD = 0.40) ตามลำดับ โดยด้านสิ่งแวดล้อมของครอบครัวมีค่าเฉลี่ยคะแนนสุขภาพมากที่สุด คำสำคัญ : ครอบครัว สุขภาพครอบครัว * พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ** อาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร *** พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ Abstract This study aimed to explore general characteristics and family health of families living in Uttaradit province. A sample of 440 families was randomly selected using multi-stage sampling. Data collection was conducted using the Thai family health inventory during June 2009 - January 2010. Computer software program was applied to analyze data and indicated frequency, percentage, average, and standard deviation. The research results showed that: 1. General characteristics of most samples were nuclear families (47.00%), extended families (36.80%) and single-parent family (16.20%), respectively. Their occupations were farmers (35.80%) and labor (32.36%). They earned income per month less than 5,000 baht (38.90%) and between 5,000-10,000 baht (30.00%). About their economic status, 58.90% of families had income more than expense and 18.20% of families had debt due to income less than expense. Nowadays, most families live in their own house (94.80%) and stay in their own community longer than 30 years (66.40%). Many families (52.30) have dependent members composed of families with their children less than 12 year olds (42.00%), older adults (37.50%), chronic patients (32.30%), and disable persons (7.50%). 2. Most of the sample had family health at the good level ( = 4.18, SD = 0.41).When considering in each dimension, family environment ,family functioning, and family health routines were also at the good level ( = 4.30, SD = 0.46, = 4.19, SD = 0.48, and = 4.13, SD = 0.40), respectively. Whereby, environmental dimension has highest mean score on health. Keywords : Family , Family Health ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา สุขภาพครอบครัว คือ สภาวะการดำรงชีวิตของสมาชิกและครอบครัวโดยรวม โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ครอบครัวได้มาซึ่งศักยภาพในการคงไว้ รักษา ป้องกัน ส่งเสริม และฟื้นฟูความอยู่ดีมีสุขของสมาชิกและครอบครัวโดยรวม ซึ่งสภาวะการดำรงชีวิตนี้มีลักษณะเป็นกระบวนการที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม ทั้งภายในและภายนอกครอบครัว การมีปฏิสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัว และพฤติกรรมสุขภาพที่เป็นกิจวัตรของครอบครัว (Denham, 2003) ดังนั้นครอบครัวจะสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขหรือมีภาวะสุขภาพที่ดีได้นั้นครอบครัวต้องสามารถทำหน้าที่ได้ดี มีกิจวัตรด้านสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม สมาชิกในครอบครัวมีสุขภาพแข็งแรง และอาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี ในทางตรงกันข้ามหากสุขภาพครอบครัวไม่ดีย่อมส่งผลให้ความผาสุกในครอบครัวลดลงและก่อให้เกิดปัญหาครอบครัวและสังคมตามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จากการจัดอันดับความรู้สึกของประชาชนต่อจังหวัดอยู่แล้วเป็นสุขพบว่าจังหวัดอุตรดิตถ์เป็นจังหวัดที่น่าอยู่ที่สุดอันดับ 2 ของประเทศ(นภดล กรรณิกา, 2554) แต่จากการสำรวจสัมพันธภาพที่อบอุ่นในครอบครัวของสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวพบว่า ภาคเหนือมีสัมพันธภาพที่อบอุ่นในครอบครัวต่ำถึงร้อยละ 70.70 (สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว, 2548, หน้า 33) โดยเฉพาะในจังหวัดอุตรดิตถ์มีการหย่าร้างเพิ่มมากขึ้นจาก 746 ครอบครัวในปี 2549 เป็น 755 ครอบครัว ในปี 2551 (สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดอุตรดิตถ์, 2552) และจากรายงานการวิเคราะห์ข้อมูลปัญหาสังคมจังหวัดอุตรดิตถ์ (สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดอุตรดิตถ์, 2553, หน้า 55 – 67)พบสถานการณ์ปัญหาครอบครัวด้าน การไม่เคารพเชื่อฟัง ญาติผู้ใหญ่ร้อยละ 38.5 การไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกันร้อยละ 36.3 ขาดการดูแลซึ่งกันและกันร้อยละ 36.3 การไม่มีสัมพันธภาพในครอบครัวที่ดีต่อกันร้อยละ 36 ปัญหาเกี่ยวกับการทำกิจกรรมร่วมกันร้อยละ 34.8 ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลเชิงคุณภาพจากรายงานเดียวกันที่พบปัญหาความขัดแย้งระหว่าง สามี ภรรยาและปัญหาการหย่าร้าง นอกจากความรักความผูกพันในครอบครัวแล้วปัญหาที่เกิดจากการขาดปัจจัยในการดำเนินชีวิต หรือปัญหาความเครียดจากการดำเนินชีวิตที่ต้องแข่งขันหารายได้เพิ่มขึ้น กระแสบริโภคนิยมที่ให้ความสำคัญกับคุณค่าทางวัตถุและทรัพย์สิน วิถีการดำเนินชีวิตของสามี และภรรยาจึงเต็มไปด้วยความเร่งรีบและต้องออกไปทำงานนอกบ้าน การทุ่มเทเวลาให้กับ การทำงานมากเกินไปเพื่อหารายได้และลดภาระหนี้สินจนไม่มีเวลาให้กับครอบครัว การดำเนินชีวิตลักษณะนี้สนับสนุนทำให้การเอาใจใส่ต่อครอบครัวและเอื้ออาทรภายในครอบครัวลดน้อยลง สมาชิกในครอบครัวไม่มีเวลามาร่วมคิด ร่วมสนทนามากเท่าในอดีต ทำให้สมาชิกในครอบครัวเหินห่างจากกันและกัน ไม่มีเรื่องสนทนาหรือไม่มีความสนใจที่ตรงกัน ขณะเดียวกันพ่อแม่ก็ไม่ค่อยมีเวลาในการสนทนาพูดคุยกับลูก (สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดอุตรดิตถ์, 2552) ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านความพร้อมทางวุฒิภาวะ หรือความฉลาดทางอารมณ์อันเป็นที่มาของปัญหาความรุนแรงในครอบครัวเช่น เด็กและสตรีที่ถูกทารุณกรรม (กระทรวงสาธารณสุข, 2548,หน้า 16) ในฐานะพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน ซึ่งเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการดูแลสุขภาพครอบครัว โดยการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของครอบครัวและชุมชน ซึ่งเป็นการประเมินข้อมูลพื้นฐานแรกในการมองหาปัญหาสุขภาพครอบครัวโดยรวม ทั้งการสำรวจสุขภาพครอบครัวในปัจจุบันมีวิธีการได้มาซึ่งข้อมูลที่ซับซ้อน คำถามเป็นนามธรรมยากต่อการประเมินโดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับจิตวิญาณ ทัศนคติ ค่านิยม หลักในการดำเนินชีวิต และใช้เวลานานในการเก็บข้อมูล (อรวรรณ สุวิทยพันธุ์, 2547, หน้า 70) และจากการศึกษาของDenham (2003, p.145) พบว่าพฤติกรรมด้านสุขภาพ ของสมาชิกที่กระทำซ้ำ ๆกัน จนเป็นภาพพฤติกรรมของครอบครัวหรือกิจวัตรสุขภาพของครอบครัวนั้นสามารถทำนายความสม่ำเสมอในวิถีชีวิตครอบครัวและสะท้อนภาวะสุขภาพครอบครัวนั้นได้ จากการทบทวนเอกสารและงานวิจัยต่าง ๆ พบว่า สุขภาพครอบครัว ล้วนได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม การมีปฏิสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัว และพฤติกรรมสุขภาพของสมาชิกในครอบครัวที่ปฏิบัติกันจน เป็นกิจวัตร ทำให้ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษาการประเมินสุขภาพครอบครัวโดยใช้กรอบแนวคิดสุขภาพครอบครัวของ Denham (2003) ซึ่งให้มุมมองในการศึกษาสุขภาพครอบครัวผ่านกิจวัตรสุขภาพของครอบครัว การทำหน้าที่ของครอบครัว ท่ามกลางบริบทหรือสิ่งแวดล้อมภายในและภายนอกครอบครัวของครอบครัว การใช้กรอบแนวคิดนี้ทำให้สามารถมองสุขภาพครอบครัวได้ชัดเจน มีความเป็นองค์รวม ให้แนวทางในการประเมินและค้นหาปัญหาสุขภาพของครอบครัวได้อย่างครอบคลุม เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาเป็นข้อมูลพื้นฐาน อันจะนำไปสู่การพัฒนาแนวทางและการวางแผนดูแลสุขภาพของครอบครัวในเชิงรุก อันจะนำไปสู่ครอบครัวสุขภาพดี ทั้งกาย จิต และสังคมต่อไป วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาลักษณะทั่วไปของครอบครัว ที่อาศัยในจังหวัดอุตรดิตถ์ 2. เพื่อสำรวจสุขภาพของครอบครัวที่อาศัยในจังหวัดอุตรดิตถ์ทั้งโดยรวมและรายด้านได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการทำหน้าที่ และด้านกิจวัตรสุขภาพของครอบครัว วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (survey research) โดยมีประชากรเป้าหมาย คือครอบครัวที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 126,080 ครอบครัว (สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดอุตรดิตถ์, 2551) กำหนดขนาดตัวอย่าง ด้วยวิธีของ Taro Yamane(1973 อ้างอิงใน บุญใจ ศรีสถิตนรากูร, 2547) ได้ 399 ครัวเรือน เพื่อป้องกันการสูญหายของกลุ่มตัวอย่างจึงเพิ่มจำนวนตัวอย่างอีกประมาณร้อยละ 10 ได้จำนวนตัวอย่างทั้งหมด 440 ครัวเรือน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (multi-stage sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามคุณลักษณะทั่วไปของครอบครัว และ 2) แบบวัดสุขภาพครอบครัวไทย ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยใช้รูปแบบสุขภาพครอบครัว ของ เดนแฮม (Denham, 2003) เป็นกรอบแนวคิด ประกอบด้วย สุขภาพครอบครัวด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการทำหน้าที่ และ ด้านกิจวัตรสุขภาพ ซึ่งแบบวัดสุขภาพครอบครัวไทยได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน และได้นำไปทดลองใช้กับครอบครัวซึ่งมีลักษณะคล้ายกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 ครอบครัว คำนวณค่าความเที่ยงโดยใช้สูตรประสิทธ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) ได้ค่าความเที่ยงด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการทำหน้าที่ ด้านกิจวัตรสุขภาพ และแบบวัดทั้งฉบับเท่ากับ 0.841, 0.872, 0.825 และ 0.920 ตามลำดับ จากนั้นนำค่าเฉลี่ยคะแนนสุขภาพครอบครัว มาแบ่งเป็น 5 ระดับ ดังนี้ 1.00 - 1.50 หมายถึง สุขภาพไม่ดี 1.51 - 2.50 หมายถึง สุขภาพไม่ค่อยดี 2.51 - 3.50 หมายถึง สุขภาพปานกลาง 3.51 - 4.50 หมายถึง สุขภาพดี 4.51 - 5.00 หมายถึง สุขภาพดีมาก การพิทักษ์สิทธิ์ของกลุ่มตัวอย่าง การศึกษาครั้งนี้ผ่านการการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมในการวิจัยมหาวิทยาลัยนเรศวร นอกจากนี้ผู้วิจัยมีเอกสารชี้แจงการพิทักษ์สิทธิ์กับตัวแทนครอบครัวและเปิดโอกาสให้ตัวแทนครอบครัวตัดสินใจเข้าร่วมการวิจัยด้วยตนเองโดยไม่มีการบังคับ วิธีการรวบรวมข้อมูล การศึกษาครั้งนี้ เก็บข้อมูลจากสมาชิกที่เป็นตัวแทน (representative) ของครอบครัวบนพื้นฐานความเชื่อที่ว่าครอบครัวคือหน่วยเดียวไม่สามารถแบ่งแยกได้ (family as a unit) และตัวแทนของครอบครัวคือบุคคลที่ครอบครัวยอมรับว่าสามารถให้ข้อมูลภาพรวมของสุขภาพครอบครัวได้ดีที่สุด ซึ่งการเก็บรวบรวมข้อมูลมีขั้นตอนดังนี้ 1. ทำหนังสือขออนุญาตดำเนินการวิจัยจากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร 2. ประสานงานกับหัวหน้าหน่วยงาน/หัวหน้าสถานีอนามัย และผู้ช่วยเก็บข้อมูลในแต่ละพื้นที่ซึ่งเป็น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำชุมชนจำนวน 20 คน เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ การ เก็บข้อมูล คุณสมบัติของผู้ตอบแบบสอบถาม การพิทักษ์สิทธิ และข้อพึงระวังในการเก็บข้อมูล 3. สุ่มหาตัวอย่างตามแผนที่วางไว้เพื่อเลือกบ้านเลขที่ตามบัญชีรายชื่อของแต่ละหมู่บ้าน 4. เก็บข้อมูลตามแผนที่วางไว้ 5. รวบรวมและตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถาม ซึ่งได้แบบสอบถามกลับคืนจำนวน 440 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100 การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Windows วิเคราะห์ข้อมูลหาค่าการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย ตอนที่1 ลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นครอบครัวเดี่ยว (ร้อยละ47) มีสมาชิกครอบครัวละ 3-4 คน(ร้อยละ52.3) ประกอบอาชีพเกษตรกรรม (ร้อยละ 35.08) รายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 5,000 บาท (ร้อยละ 38.90) รายได้เพียงพอใช้จ่ายและเหลือเก็บ (ร้อยละ 58.90) เกือบทั้งหมดนับถือศาสนาพุทธ (ร้อยละ 99.8) มีบ้านเป็นของตนเอง (ร้อยละ 94.80) อาศัยอยู่ในชุมชนนานกว่า 30 ปี (ร้อยละ 66.40) ครอบครัวที่มีสมาชิกที่ต้องการผู้ดูแล ได้แก่ เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง และผู้พิการ (คิดเป็นร้อยละ 42.00, 37.50, 32.30 และ 7.50 ตามลำดับ) โรคที่เจ็บป่วยมากที่สุด คือ ความดันโลหิตสูง และเบาหวาน ดังตาราง 1 ตาราง 1 ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ข้อมูลทั่วไป กลุ่มตัวอย่าง (n=440 ครอบครัว) จำนวน ร้อยละ ประเภทของครอบครัว ครอบครัวเดี่ยว 207 47.00 ครอบครัวขยาย 162 36.80 ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว 71 16.20 อาชีพของครอบครัว* เกษตรกรรม 181 35.08 รับจ้างรายวัน 167 32.36 ลูกจ้างบริษัท 32 6.21 ค้าขายธุรกิจส่วนตัว 80 15.50 รับราชการ/รัฐวิสาหกิจ 34 6.58 บุตรให้/เงินผู้สูงอายุ 22 4.27 ความสมดุลของรายได้ เพียงพอเหลือเก็บ 259 58.90 เพียงพอไม่เหลือเก็บ 101 23.00 ไม่เพียงพอ 80 18.10 ตาราง 1 ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง (ต่อ) ข้อมูลทั่วไป กลุ่มตัวอย่าง (n=440 ครอบครัว) จำนวน ร้อยละ รายได้ของครอบครัว ต่ำกว่า 5,000 บาท 171 38.90 5,001 –10,000 บาท 132 30.00 10,001-15,000 บาท 59 13.40 15,001-20,000 บาท 32 7.30 20,001-25,000 บาท 16 3.60 25,001-30,000 บาท 9 2.00 มากกว่า 30,000 21 4.80 ลักษณะการครอบครองที่อยู่อาศัย บ้านของตนเอง 417 94.80 บ้านเช่า 10 2.20 อาศัยบ้านผู้อื่น 13 3.00 ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชน ต่ำกว่า 5 ปี 14 3.20 จนถึงปัจจุบัน 6 – 10 ปี 21 4.80 11 – 15 ปี 34 7.70 16 – 20 ปี 29 6.60 21 – 25 ปี 20 4.50 26 – 30 ปี 30 6.80 มากกว่า 30 ปีขึ้นไป 292 66.40 จำนวนสมาชิกที่อาศัยอยู่ใน 1-2 คน 59 13.4 ครอบครัว 3-4 คน 230 52.3 5-8 คน 145 32.9 มากกว่า 8 คน 6 1.4 สมาชิกในครอบครัวที่ต้องการ ผู้สูงอายุ มี 165 37.5 การพึ่งพา ไม่มี 275 62.50 ผู้พิการ มี 33 7.5 ไม่มี 407 92.50 เด็กอายุน้อยกว่า 12 ปี มี 185 42.00 ไม่มี 255 58.00 ผู้ที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง มี 142 32.30 ไม่มี 298 67.70 โรคที่สมาชิกในครอบครัวป่วย* เบาหวาน 67 31.90 โรคหัวใจ 36 17.15 ความดันโลหิตสูง 103 49.05 *ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ ตอนที่ 2 สุขภาพครอบครัวโดยรวมและรายด้าน จากการศึกษาพบว่าครอบครัวที่อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดอุตรดิตถ์มีคะแนนเฉลี่ย สะท้อนสุขภาพครอบครัวโดยรวมอยู่ในระดับดี โดยครอบครัวส่วนใหญ่ (ร้อยละ 70.45) มีคะแนนเฉลี่ยระดับสุขภาพอยู่ในระดับดี รองลงมาคือ ระดับดีมาก (ร้อยละ 24.78) และระดับปานกลาง (ร้อยละ 4.77) ตามลำดับ และพบว่า ครอบครัวในจังหวัดอุตรดิตถ์มีคะแนนเฉลี่ยสุขภาพครอบครัวรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับดี โดยด้านสิ่งแวดล้อมมีคะแนนเฉลี่ยเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือด้านการทำหน้าที่และด้านกิจวัตรสุขภาพของครอบครัว ( = 4.30, S.D. = 0.46 , = 4.19, S.D. = 0.48, = 4.13, S.D. = 0.41) ตามลำดับ ดังตาราง 2 ตาราง 2 ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของภาวะสุขภาพครอบครัวทั้งโดยรวมและรายด้าน (n = 440) ระดับสุขภาพ สุขภาพครอบครัว ดีมาก ดี ปานกลาง S.D. จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ ด้านสิ่งแวดล้อม 167 37.95 242 55.00 31 7.05 4.30 0.46 ด้านการทำหน้าที่ 134 30.46 265 60.22 41 9.32 4.19 0.48 ด้านกิจวัตรสุขภาพ 84 19.09 322 73.18 34 7.73 4.13 0.41 โดยรวม 109 24.78 310 70.45 21 4.77 4.18 0.40 เมื่อพิจารณาสุขภาพด้านสิ่งแวดล้อมของครอบครัวเป็นรายข้อ พบว่าข้อความส่วนใหญ่จำนวน 17 ข้อจากทั้งหมด 20 ข้อ มีค่าเฉลี่ยคะแนนสุขภาพอยู่ในระดับดี และมี 3 ข้อความที่มีค่าเฉลี่ยในระดับดีมาก ได้แก่ การอาศัยอยู่ในบ้านที่แข็งแรง ทนทาน กันแดดกันฝนได้ ( = 4.63, S.D. = 0.66) การมีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งโดยไม่ต้องกังวลว่าจะมีปัญหาไร้ที่อยู่ ( = 4.58, S.D. = 0.81) และ ความสะดวกด้านบริการสาธารณูปโภค เช่น ถนน ประปา ไฟฟ้า ( = 4.50, S.D. = 0.71) ดังตาราง 3 ตาราง 3 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระดับสุขภาพครอบครัวด้านสิ่งแวดล้อม ลำดับที่ สุขภาพครอบครัวด้านสิ่งแวดล้อม S.D. ระดับ 8. การได้อาศัยอยู่ในบ้านที่แข็งแรง ทนทาน กันแดดกันฝนได้ 4.63 0.66 ดีมาก 7. การมีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งโดยไม่ต้องกังวลว่าจะมีปัญหาไร้ที่อยู่ 4.58 0.81 ดีมาก 19. ความสะดวกด้านบริการสาธารณูปโภค เช่น ถนน ประปา ไฟฟ้า 4.50 0.71 ดีมาก 16. การไม่ได้รับความเดือดร้อนจากแหล่งมั่วสุม 4.48 0.99 ดี 10. บริเวณทางเข้าบ้านมีความปลอดภัย 4.46 0.82 ดี 17. สถานบริการสุขภาพ เช่น สอ/รพ/คลินิก ใช้เวลาเดินทางไปถึงไม่เกิน 30 นาที 4.45 0.77 ดี 9. การมีสิ่งของจำเป็นในการดำรงชีวิต พียงพอกับความต้องการของสมาชิก เข่น อาหาร เสื้อผ้า ผ้าห่ม ยารักษาโรค เป็นต้น 4.42 0.80 ดี 1. การได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตากัน 4.33 0.93 ดี 3. การไม่มีภาระต้องดูแลสมาชิกที่พิการหรือเป็นโรคทางพันธุกรรม 4.33 1.27 ดี 13. เพื่อนบ้านใกล้เคียงเป็นมิตรกับสมาชิกในครอบครัว 4.32 0.71 ดี 15. การไม่ถูกรบกวนจากมลพิษของโรงงานที่ตั้งอยู่ ใกล้บ้าน 4.32 1.12 ดี 5. การยึดหลักศาสนาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตประจำวัน 4.31 0.73 ดี 11. บริเวณบ้านโดยรอบสะอาด เป็นระเบียบ อากาศถ่ายเท และมีที่ทิ้งขยะถูกสุขลักษณะ 4.30 0.84 ดี 4. ความใกล้ชิดสนิทสนมกับครอบครัวของญาติพี่น้อง 4.24 0.81 ดี 6. การถ่ายทอดธรรมเนียมปฏิบัติ ประเพณีและวัฒนธรรมให้บุตรหลาน 4.23 0.77 ดี 12. การได้รับการเคารพนับถือ จากครอบครัวเพื่อนบ้าน 4.23 0.77 ดี 14. เมื่อต้องการความช่วยเหลือสามารถไหว้วานครอบครัว เพื่อนบ้านได้ 4.20 0.77 ดี 18. การอาศัยอยู่ในชุมชนที่สนับสนุนให้สมาชิกได้ออกกำลังกาย พักผ่อนหย่อนใจหรือเข้าร่วมชมรมเสริมสร้างสุขภาพ เป็นต้น 3.87 0.93 ดี 20. การดูแลช่วยเหลือจาก อบต.,อบจ.หรือเทศบาล เมื่อประสบปัญหา 3.86 1.05 ดี 2. การมีรายได้และทรัพย์สินเพียงพอสำหรับการใช้จ่ายแต่ละเดือน 3.85 1.10 ดี เมื่อพิจารณาสุขภาพด้านการทำหน้าที่ของครอบครัวเป็นรายข้อพบว่าข้อความส่วนใหญ่จำนวน 22 ข้อจากทั้งหมด 25 ข้อ มีค่าเฉลี่ยคะแนนสุขภาพในระดับดี และมี 2 ข้อความ ที่มีค่าเฉลี่ยระดับดีมาก คือการไม่เคยมีความผิดทางกฎหมาย ( = 4.53, S.D. = 1.04) และ การได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันอย่างมีความสุขในวันหยุด ( =4.52, S.D. = 0.75) นอกจากนี้ยังมี 1 ข้อความที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดและสะท้อนสุขภาพในระดับปานกลาง คือ ความสามารถในการทนรับปัญหาหรือเหตุร้ายที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด ( = 3.21, S.D. = 1.44) ดังตาราง 4 ตาราง 4 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและระดับสุขภาพด้านการทำหน้าที่ของครอบครัว ลำดับที่ สุขภาพครอบครัวด้านการทำหน้าที่ S.D. ระดับ 1. การไม่เคยมีความผิดทางกฎหมาย 4.53 1.04 ดีมาก 2. การได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันอย่างมีความสุขในวันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ หรือวัดหยุดอื่นๆ 4.52 0.75 ดีมาก 3. ความใส่ใจเกี่ยวกับการคบเพื่อนของสมาชิกในครอบครัว 4.33 0.71 ดี 4. ความห่วงใยกันและกันเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การเกิดอุบัติเหตุ หรือความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 4.47 0.64 ดี 5. การให้ความสำคัญ/ชื่นชมยินดีกับความสำเร็จ หรือในวันสำคัญ 4.47 0.68 ดี 6. ความรัก ห่วงใย และเอื้ออาทรกันในยามทุกข์และยามสุข 4.40 0.74 ดี 7. ความรักใคร่ปองดอง มีความสามัคคี ช่วยเหลือกันดี 4.39 0.74 ดี 8. ความรู้สึกห่างเหินกันเหมือนต่างคนต่างอยู่ 4.38 1.08 ดี 9. การให้ความสำคัญกับการไปทำบุญตักบาตรหรือปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา 4.35 0.78 ดี 10. ความสุขในการรับประทานอาหาร หรือทำกิจกรรมยามว่างร่วมกัน 4.34 0.75 ดี 11. ความร่วมแรงร่วมใจกันแก้ไขปัญหาหรือเหตุร้ายที่เกิดขึ้นโดยไม่ทอดทิ้งกัน 4.34 0.77 ดี 12. โอกาสที่สามาชิกได้เรียนจนจบชั้นประถมศึกษาเป็นอย่างต่ำ 4.33 1.03 ดี 13. ความใส่ใจการเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์จิตใจและความรู้สึกของสมาชิก 4.24 0.76 ดี 14. การร่วมแรงร่วมใจกันทำงานจนสำเร็จโดยไม่เกี่ยงว่าเป็นหน้าที่ของใคร 4.21 0.77 ดี 15. การดูแลเอาใจใส่สมาชิกในครอบครัวที่เจ็บป่วยหรือพิการเป็นอย่างดี 4.16 1.15 ดี 16. ความสามารถทำงานหาเงินเลี้ยงตนเองหรือครอบครัว 4.17 1.01 ดี 17. สามารถพูดคุยกันได้ทุกเรื่องอย่างไม่ปิดบังกัน 4.14 0.83 ดี 18. การแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือหาความรู้เพื่อช่วยกันแก้ปัญหา 4.12 0.81 ดี 19. การให้ความช่วยเหลือโดยไม่ลังเลใจถ้าสมาชิกมีปัญหา 4.11 0.89 ดี 20. ความสามารถในการจัดการปัญหาเมื่อเกิดปัญหาหรือเหตุร้ายที่ไม่คาดคิด 4.08 0.86 ดี 21. การเล่นการพนันหรือหวยใต้ดิน 4.04 1.06 ดี 22. การใช้คำสั่งแทนการไหว้วานหรือขอร้อง 3.94 1.24 ดี 23. การอบรมสั่งสอนสมาชิกในครอบครัวให้เชื่อฟังเป็นเรื่องยาก 3.88 1.27 ดี 24. การทะเลาะกันเพราะพูดคุยกัน ไม่รู้เรื่องเป็นเรื่องปกติในครอบครัว 3.65 1.33 ดี 25. ความสามารถในการทนรับปัญหาหรือเหตุร้ายที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด 3.21 1.44 ปานกลาง เมื่อพิจารณากิจวัตรสุขภาพครอบครัวเป็นรายข้อพบว่า ข้อความส่วนใหญ่ 40 ข้อจากทั้งหมด 50 ข้อ มีค่าเฉลี่ยคะแนนสุขภาพในระดับ ดี ส่วนข้อความที่มีค่าเฉลี่ยระดับดีมาก มี 7 ข้อ คือ การไม่ใช้สารกระตุ้นประสาท เช่น ยาบ้า ยาอี ( = 4.94, S.D. = 0.29) การไม่มีเพศสัมพันธ์ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหรือการตั้งครรภ์ที่ไม่ต้องการ ( = 4.84, S.D. = 0.56) การไม่ทะเลาะวิวาทหรือทำร้ายร่างกายกันในครอบครัว ( = 4.75, S.D. = 0.70) การไม่คบ เพื่อนที่ประพฤติตัวเกเร ( = 4.75, S.D. = 0.70) การไม่อ่านหนังสือการ์ตูนดูซีดี หรืออินเตอร์เน็ตที่มีภาพโป๊เปลือย ( = 4.72, S.D. = 0.69) การ แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งในตอนเช้าและก่อนเข้านอน ( = 4.51, S.D. = 0.70) และการปิดวาวเตาแก๊สหรือดับไฟเตาถ่านให้สนิทหลังทำกับข้าวเสร็จแล้ว ( = 4.51, S.D. = 0.73) ส่วนข้อความที่มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าข้ออื่นๆ ซึ่งสะท้อนสุขภาพในระดับปานกลาง คือ การไม่กินขนมถุงกรุบกรอบ น้ำอัดลม หรือผลไม้ดอง ( = 3.33, S.D. = 0.1.02) การออกกำลังกายจนได้เหงื่ออย่างน้อยครั้งละ 30 นาทีสัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง ( = 3.23, S.D. = 1.04) และการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของครอบครัวในแต่ละเดือน ( = 2.55, S.D. = 1.17) ซึ่งเป็นข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ดังตาราง 5 ตาราง 5 ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและร้อยละของครอบครัวจำแนกตามระดับสุขภาพด้านกิจวัตรสุขภาพของครอบครัว ลำดับที่ สุขภาพครอบครัวด้านกิจวัตรสุขภาพ S.D. ระดับ 1. การไม่ใช้สารกระตุ้นประสาท เช่น ยาบ้า ยาอี 4.94 0.29 มากที่สุด 2. การไม่มีเพศสัมพันธ์ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหรือการตั้งครรภ์ที่ไม่ต้องการ 4.84 0.56 มากที่สุด 3. การไม่ทะเลาะวิวาทหรือทำร้ายร่างกายกันในครอบครัว 4.75 0.70 มากที่สุด 4. การไม่คบหากับเพื่อนที่ประพฤติตัวเกเร 4.75 0.70 มากที่สุด 5. การไม่อ่านหนังสือการ์ตูน ดูซีดี หรืออินเตอร์เน็ตที่มีภาพโป๊เปลือย 4.72 0.69 มากที่สุด 6. การแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ในตอนเช้าและก่อนเข้านอน 4.51 0.70 มากที่สุด 7. การปิดวาวเตาแก๊สหรือดับไฟเตาถ่านให้สนิทหลังทำกับข้าวเสร็จแล้ว 4.51 0.73 มากที่สุด 8. การบอกหรือสอนสมาชิกให้กินอาหารที่ปลอดภัยและมีประโยชน์ 4.45 0.68 มาก 9. การดูแลช่วยเหลือคนในครอบครัวที่เจ็บป่วยให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์หรือพยาบาล 4.43 0.64 มาก 10. การบอกหรือสอนสมาชิกให้มีความกตัญญู ซื่อสัตย์ ขยัน อดทน และมีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่น 4.45 0.65 มาก 11. การทำความสะอาดที่อยู่อาศัยให้สะอาด 4.42 0.70 มาก 12. การบอกหรือสอนสมาชิกให้รักษาสุขภาพไม่ให้เจ็บป่วยหรือได้รับอุบัติเหตุ 4.41 0.66 มาก 13. การตอบแทนบุญคุณพ่อแม่และผู้มีพระคุณ 4.39 0.77 มาก 14. การความชื่นชมยินดีเมื่อสมาชิกทำความดีหรือประสบความสำเร็จ 4.38 0.72 มาก 15. การกินอาหารครบทั้ง 5 หมู่ 4.37 0.75 มาก 16. การไม่ปล่อยให้ตนเองเจ็บป่วยรุนแรงจึงไปพบแพทย์ 4.36 1.06 มาก 17. การจัดหาอาหารและเครื่องนุ่งห่มได้เพียงพอกับความต้องการ 4.34 0.77 มาก ตาราง 5 ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและร้อยละของครอบครัวจำแนกตามระดับสุขภาพด้าน กิจวัตรสุขภาพของครอบครัว (ต่อ) ลำดับที่ สุขภาพครอบครัวด้านกิจวัตรสุขภาพ S.D. ระดับ 18. การกินยาตามแพทย์สั่งหรือไม่ได้ไปตรวจตามนัด 4.33 1.12 มาก 19. การเลือกไปรับการรักษาในสถานพยาบาลที่มีแพทย์/พยาบาลเป็นผู้ทำการรักษา 4.32 0.76 มาก 20. การเปิดประตู หน้าต่างห้องนอนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก 4.31 0.78 มาก 21. การถางหญ้าหรือเก็บกวาดสิ่งของที่รกรุงรัง 4.31 0.79 มาก 22. การสวมเสื้อผ้าที่สะอาดและไม่อับชื้น 4.30 1.11 มาก 23. การอยู่เป็นเพื่อนคอยช่วยเหลือปลอบโยนและให้กำลังใจหากมีใครเจ็บป่วย 4.29 0.73 มาก 24. การกำจัดขยะไม่ให้กองสุมอยู่ในบ้านและรอบๆบริเวณบ้าน 4.27 0.83 มาก 25. การอยู่เคียงข้าง คอยปลอบใจ และให้กำลังใจกันเมื่อมีปัญหาหรือเมื่อทุกข์ใจ 4.23 0.84 มาก 26. การทำกิจกรรมตามประเพณีและศาสนาร่วมกัน 4.17 0.79 มาก 27. การล้างมือด้วยสบู่หรือน้ำยาล้างมือก่อนหยิบอาหารเข้าปากหรือหลังขับถ่าย 4.16 0.87 มาก 28. การตรวจเช็คเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานพาหนะ ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยต่อ การใช้งาน 4.14 0.84 มาก 29. การล้างสารเคมีและสิ่งสกปรกออกจากผัก ผลไม้ ก่อนรับประทาน 4.14 0.92 มาก 30. การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงภายในและรอบๆ บริเวณบ้าน 4.13 0.90 มาก 31. การให้อภัยกันเมื่อคนในครอบครัวทำความผิด หรือทำบางสิ่งผิดพลาด 4.12 0.92 มาก 32. การไม่กินยาแก้ปวดหรือดื่มเครื่องดื่มชูกำลังขณะทำงาน 4.09 1.08 มาก 33. การไม่ระบายความโกรธด้วยการด่าว่า 4.08 1.05 มาก 34. การไม่เครียดจากที่ทำงานหรือโรงเรียน 4.05 0.99 มาก 35. การไม่กินยานอนหลับหรือยาแก้ปวดก่อนนอน 4.05 1.03 มาก 36. การให้ทาน บริจาคทรัพย์สิ่งของ หรือทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์ 4.03 0.85 มาก 37. การกินเนื้อสัตว์ที่ดิบหรือปรุงสุกๆดิบๆ 4.03 1.06 มาก 38. การบอกสอนสมาชิกเกี่ยวกับสิ่งเสพติด การคบเพื่อน หรือการประพฤตตัวไม่ดี 4.02 1.23 มาก 39. การไม่ดื่มเหล้า เบียร์ หรือไวน์จนมึนเมา 3.96 1.07 มาก 40. การหยอกล้อกันอย่างสนุกสนานในครอบครัว 3.95 0.84 มาก 41. การไม่สูบบุหรี่ 3.94 1.30 มาก 42. การใช้ช้อนกลางเมื่อรับประทานอาหารมากกว่า1 คน 3.93 1.05 มาก 43. การทำกิจกรรมร่วมกันอย่างมีความสุข 3.86 0.88 มาก 44. การกินอาหารโดยระวังเรื่องสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ 3.75 1.22 มาก 45. การไม่กู้ยืมเงินผู้อื่นเพื่อใช้จ่ายภายในครอบครัว 3.72 1.18 มาก 46. การวางของมีคมไว้ไม่เป็นที่เป็นทาง 3.61 1.55 มาก 47. การซื้ออาหารสำเร็จโดยคำนึงเรื่องผงชูรสหรือสารกันบูด 3.52 1.17 มาก 48. การไม่กินขนมถุงกรุบกรอบ น้ำอัดลม หรือผลไม้ดอง 3.33 1.02 ปานกลาง 49. การออกกำลังกายจนได้เหงื่ออย่างน้อยครั้งละ30 นาทีสัปดาห์ละ 3-5ครั้ง 3.23 1.04 ปานกลาง 50 การทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของครอบครัวในแต่ละเดือน 2.55 1.17 ปานกลาง การอภิปรายผล 1. ลักษณะทั่วไปของครอบครัว เมื่อเปรียบเทียบลักษณะกลุ่มตัวอย่างกับประชากรเป้าหมาย พบว่ามีลักษณะใกล้เคียงกัน กล่าวคือ จากข้อมูลสำรวจสำมะโนประชากร (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2549) พบว่าครอบครัวที่อาศัยในจังหวัดอุตรดิตถ์ส่วนใหญ่เป็นครอบครัวเดี่ยว (ร้อยละ 59.00) และครอบครัวขยาย (ร้อยละ 30.85) แต่ละครอบครัวโดยมาก (ร้อยละ 56.20) มีสมาชิกต่อครัวเรือนเฉลี่ย 3-4 คน เกือบทั้งหมดอาศัยอยู่ในบ้านและที่ดินของตนเอง (ร้อยละ 92.90) ประกอบอาชีพเกษตรกรรมมากที่สุด (ร้อยละ 38.30) แต่มีสัดส่วนรายได้แตกต่างจากกลุ่มตัวอย่างเล็กน้อยคือ ประชากรส่วนใหญ่มีรายได้ระหว่าง 5001-10000 บาทต่อเดือน (ร้อยละ 37.60) แต่กลุ่มตัวอย่างส่วนมากมีรายได้ต่ำกว่า 5,000 บาทต่อเดือน (ร้อยละ 38.90) 2. สุขภาพครอบครัวโดยรวมและรายด้าน การใช้รูปแบบสุขภาพครอบครัวของ เดนแฮม (Denham, 2003) เป็นกรอบแนวคิดในการศึกษาครั้งนี้ สามารถอธิบายสุขภาพของครอบครัวที่อาศัยในจังหวัดอุตรดิตถ์ได้ครอบคลุมดังนี้ 2.1 สุขภาพครอบครัวโดยรวม ครอบครัวที่อาศัยในจังหวัดอุตรดิตถ์มีสุขภาพ โดยรวมอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 70.45) ถึงดีมาก (ร้อยละ 24.78) ซึ่งสอดคล้องกับการจัดอันดับความรู้สึกของประชากรต่อจังหวัดอยู่แล้วเป็นสุข พบว่า อุตรดิตถ์เป็นจังหวัดที่น่าอยู่ที่สุดอันดับ 2รองจาก สุพรรณบุรี (นภดล กรรณิกา, 2554) เนื่องจากเป็นจังหวัดเล็ก ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมใหญ่มาก มีทรัพยากรทางธรรมชาติที่อุดมสมบรูณ์ มีแม่น้ำไหลผ่าน ไม่มีอาชญากรรมที่รุนแรง และมีความเชื่อเรื่องการไม่พูดโกหกของเมืองลับแล 2.2 สุขภาพครอบครัวรายด้าน 1) ด้านสิ่งแวดล้อมของครอบครัวครอบครัวที่อาศัยอยู่ในจังหวัดอุตรดิตถ์ส่วนมากมีสุขภาพครอบครัวด้านสิ่งแวดล้อมในระดับดี (ร้อยละ 55.00) ถึงดีมาก (ร้อยละ37.95)โดยเฉพาะการมีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง ไม่ต้องกังวลว่าจะมีปัญหาไร้ที่อยู่ ได้อาศัยอยู่ในบ้านที่แข็งแรง ทนทาน กันแดดกันฝนได้ และการได้รับความสะดวกด้านสาธารณูปโภค เช่น ถนน น้ำประปา ไฟฟ้า ซึ่งเป็นสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในระดับดีมาก สอดคล้องกับลักษณะการครอบครองที่อยู่อาศัย พบว่าร้อยละ 94.80 มีบ้านเป็นของตนเองทำให้ไม่มีภาระเรื่องค่าเช่าบ้าน ซึ่งครอบครัวที่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่ดี ย่อมส่งผลให้ครอบครัวมีสุขภาพดี สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข สอดคล้องกับการศึกษาของ วีระศักดิ์ มโนวรรณ์ (2547) พบว่าสภาพบ้านเรือนและความปลอดภัยในชีวิตและ ทรัพย์สินเป็นตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตด้านความมั่นคงในการดำเนินชีวิตครอบครัวในระดับสูง 2) ด้านการทำหน้าที่ของครอบครัว ครอบครัวในจังหวัดอุตรดิตถ์ส่วนใหญ่มีสุขภาพด้านการทำหน้าที่ของครอบครัวอยู่ในระดับดี(ร้อยละ 60.22) ถึงดีมาก (ร้อยละ 30.46)โดยเฉพาะการไม่เคยมีความผิดทางกฎหมายของสมาชิกในครอบครัว และการได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันอย่างมีความสุข ในวันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ หรือวันหยุดอื่นๆ เป็นสิ่งที่แสดงถึงการทำหน้าที่ของครอบครัวในระดับดีมาก ซึ่งอธิบายได้ว่า การทำผิดทางกฎหมายเป็นวิกฤตที่ส่งผลกระทบต่อครอบครัวมากเป็นอันดับ 4 รองจาก ปัญหาการตั้งครรภ์ การเลี้ยงดูบุตร และการเจ็บป่วย (พิมภา สุตรา, 2549 หน้า 26) การที่ครอบครัวพยายามทำหน้าที่เพื่อป้องกันมิให้สมาชิกในครอบครัวเข้าไปข้องแวะกับการทำความผิดทางกฎหมายจึงส่งผลโดยตรงต่อความผาสุกในครอบครัว นอกจากนี้การที่สมาชิกได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันหลังจากที่ไดเแยกย้ายกันไปทำมาหากินต่างถิ่น เป็นสิ่งที่สะท้อนถึง ความรัก ความผูกพัน และความอบอุ่นด้วยความบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นความรักในกลุ่มปฐมภูมิ (primary group) อันเป็นลักษณะครอบครัวไทยที่มีความผูกพันทางสายโลหิต (ทัศนีย์ ทองสว่าง, 2549 หน้า 81-88) แม้ว่าครอบครัวโดยมากจะมีสุขภาพด้านการทำหน้าที่ในระดับดีถึงดีมาก แต่ยังมีครอบครัวที่อยู่ในภาวะเสี่ยงถึงร้อยละ 9.2 เนื่องจากมีสุขภาพด้านการทำหน้าที่โดยเฉลี่ยในระดับปานกลาง ซึ่งครอบครัวในกลุ่มนี้ควรได้รับการส่งเสริม และสนับสนุนด้านการทำหน้าที่ของครอบครัวให้ดียิ่งขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันและเฝ้าระวังปัญหาครอบครัวที่อาจเกิดตามมาได้หากต้องเผชิญกับภาวะวิกฤติต่างๆ 3) ด้านกิจวัตรสุขภาพครอบครัว จากการศึกษาพบว่า ครอบครัวในจังหวัดอุตรดิตถ์ส่วนใหญ่มีคะแนนเฉลี่ย ด้านกิจวัตรสุขภาพของครอบครัวอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 73.18) ถึงดีมาก (ร้อยละ 19.09) อาจเนื่องมาจากครอบครัวรู้จักแสวงหาความรู้และสนใจสุขภาพรวมถึงการ ดูแสสุขภาพของสมาชิกในครอบครัวมาก ประกอบกับการเผยแพร่ความรู้ด้านสุขภาพมีเพิ่มมากขึ้น ประชาชนสามารถรับข่าวสารได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็นสื่อมวลชนทุกรูปแบบและ สื่อบุคคล ซึ่งความรู้ที่ครอบครัวได้รับสามารถนำไปปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ ตลอดจนปรับเปลี่ยนแบบแผนการดำเนินชีวิต และพยายามหลีกเลี่ยงในสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของตนเองและสมาชิกในครอบครัว ซึ่งกิจวัตรสุขภาพที่สะท้อนสุขภาพครอบครัวในระดับดีมากนั้นเป็นกิจวัตรเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงและพฤติกรรมการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพครอบครัว ดังเช่น 1) การไม่ใช้สารเสพติดประเภทยาบ้า ยาอี ซึ่งเป็น สารเสพติดที่ร้ายแรง เมื่อบุคคลเสพเข้าสู่ร่างกาย มีผลทำให้ร่างกาย จิตใจอยู่ในสภาพเป็นพิษหรือเรื้อรัง กล่าวคือทำลายสุขภาพให้ทรุดโทรม อารมณ์ไม่ปกติไม่สามารถอยู่ในสังคมได้ รวมทั้งมีผลต่อสังคมที่จะเพิ่มแนวโน้มให้เกิดอุบัติเหตุและการประกอบอาชญากรรม 2) การละเว้นมีเพศสัมพันธ์ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหรือการตั้งครรภ์ที่ไม่ต้องการที่เกิดกับสมาชิกในครอบครัวเป็นเหตุการณ์ที่ครอบครัวรับไม่ได้ โดยเฉพาะเมื่อเกิดกับเด็กวัยเรียน ซึ่งส่งผล กระทบต่อการเรียน ภาวะสุขภาพกายและจิต รวมทั้งผลกระทบต่อศีลธรรม จริยธรรม จากผลของการลักลอบทำแท้งเมื่อตั้งครรภ์ไม่ปรารถนาและบางรายถึงกับเสียชีวิตจากสาเหตุดังกล่าว(สมพร วัฒนนุกุลเกียรติ, 2542, หน้า 47) นอกจากนี้การมีเพศสัมพันธ์ที่เสี่ยงต่อโรค เช่น เอดส์ ซึ่งเป็นโรคที่ร้ายแรงที่ปัจจุบันยังไม่มียารักษาหายขาดได้ ปัจจัยเสี่ยงอันเป็นสาเหตุสำคัญของการติดเชื้อเอดส์สูงสุด คือการมี เพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อโรคเอดส์ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัยรุ่นมาก (สำนักส่งเสริมสุขภาพ ,2540, หน้า 33) และก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม (สาโรจน์ ใจมุข และอังคาร สอนถา ,2548, หน้า 1) ถ้าสมาชิกเป็นวัยแรงงาน เป็นเยาวชนอันเป็นที่รักถูกคุกคามด้วยโรคร้ายนี้ 3) การละเว้น พฤติกรรมที่สุ่มเสี่ยงต่อการชักจูงเชื่อมโยงไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัยและการประพฤติผิดทางเพศจากอิทธิพลของสื่อที่ยั่วยุทางอารมณ์เช่น การอ่านหนังสือการ์ตูน ดูซีดี หรืออินเตอร์เน็ตที่มีภาพโป๊เปลือย ครอบครัวซึ่งเป็นด่านแรกที่คอยสอดส่องดูแลสุขภาพสมาชิกในครอบครัวการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ที่คุกคามสุขภาพของครอบครัวเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ที่เสี่ยงต่อโรคและการตั้งครรภ์ที่ไม่ต้องการจึงถือเป็นกิจวัตรสุขภาพของครอบครัวที่ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก 4) การไม่ทะเลาะวิวาทหรือทำร้ายร่างกายกันในครอบครัว เป็นการแสดงพฤติกรรมเชิงแลกเปลี่ยนความเอื้ออาทรในการพิทักษ์คุ้มครองซึ่งกันและกันอย่างสม่ำเสมอของสมาชิกในครอบครัว ถือเป็นคุณลักษณะสำคัญของครอบครัวที่มีสุขภาพดี การอบรมเลี้ยงดูจากครอบครัวและการให้การศึกษามีอิทธิพลต่อระดับคุณภาพของคนและบุคลิกภาพซึ่งรวมทั้งค่านิยม เจตคติ พฤติกรรม และวิถีชีวิตของสมาชิกในครอบครัว (พิมพา สุตรา, 2541, หน้า 24) 5) การที่สมาชิกในครอบครัวไม่คบหากับเพื่อนที่ประพฤติตัวเกเร เช่น กลุ่มเด็กที่มั่วสุมทางเพศ ยาเสพติด และการพนัน กลุ่มแข่งรถมอเตอร์ไซด์บนถนนสาธารณะ กลุ่มที่ชอบ ความรุนแรงและการทะเลาะวิวาท เป็นต้น หากสมาชิกในครอบครัวไม่คบหากับกลุ่มเพื่อที่มีพฤติกรรมเหล่านี้ ก็ย่อมเป็นการป้องกันอันตรายและสิ่งไม่ดีจากบุคคลภายนอกเข้าสู่ ครอบครัว ซึ่งเป็นปัญหาที่ยากต่อการแก้ไขของครอบครัวที่มีบุตรวัยรุ่นในปัจจุบัน 6) การแปรงฟัน อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ในตอนเช้าและก่อนเข้านอน เป็นกิจวัตรสุขภาพที่ถูกปลูกฝังมา ตั้งแต่วัยเด็กและเป็นกิจกรรมแรกสุดหลังการตื่นนอน การรักษาสุขภาพช่องปากให้สะอาดนอกจากจะมีความสำคัญต่อภาวะสุขภาพด้านร่างกายโดยทั่วไปแล้ว ยังมีความสำคัญ ต่อการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น เนื่องจากการไม่มีกลิ่นปากช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้กับตนเองในการสื่อสารกับผู้อื่น การเข้าสังคมและการประกอบอาชีพ และกิจวัตรสุขภาพสุดท้ายที่มีคะแนนเฉลี่ยในระดับดีมาก คือ 7) การปิดวาวเตาแก๊สหรือดับไฟเตาถ่านให้สนิทหลังทำกับข้าวเสร็จแล้วเป็นการป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับชีวิตและทรัพย์สินของครอบครัวที่สะสมมาเป็นเวลานาน และสิ่งมีค่าที่สุดในชีวิตคือบ้าน การป้องกันอันตรายจากเพลิงไหม้จึงเป็นกิจวัตรสุขภาพครอบครัวที่ครอบครัวให้ความสำคัญมากที่สุดเช่นกัน แม้ว่าครอบครัวโดยมากจะมีกิจวัตรสุขภาพในระดับดีถึงดีมาก แต่ยังมีครอบครัวที่อยู่ในภาวะเสี่ยงถึงร้อยละ 7.73 ที่ต้องปรับปรุงกิจวัตรเกี่ยวกับพฤติกรรมการกินขนมถุงกรุบกรอบ น้ำอัดลม หรือผลไม้ดอง และ ออกกำลังกายเป็นประจำ เนื่องจากมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งการกินอาหารประเภทขนมกรุบกรอบ และน้ำอัดลมเป็นประจำ ร่วมกับการไม่ออกกำลังกายเป็นประจำ จะทำให้เกิดปัญหาโรคอ้วน เบาหวาน และความดันโลหิตสูงตามมา(กระทรวงสาธารณสุข, 2548,หน้า 106-107) ส่วนการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของครอบครัวในแต่ละเดือน ซึ่งเป็นกิจวัตรที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด สะท้อนให้เห็นถึงครอบครัวในจังหวัดอุตรดิตถ์ยังมีความสุ่มเสี่ยงในเรื่องการบริหารจัดการเศรษฐกิจในครอบครัว กล่าวโดยสรุป ครอบครัวในจังหวัดอุตรดิตถ์โดยมากมีภาวะสุขภาพทั้งโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับดีถึงดีมาก แต่ก็มีครอบครัวจำนวนไม่น้อยที่มีภาวะสุขภาพในระดับปานกลาง ซึ่งพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนต้องให้การดูแลช่วยเหลือ โดยเฉพาะครอบครัวที่มีสุขภาพรายข้อต่ำกว่าระดับดี ข้อเสนอแนะ 1. การนำผลการศึกษาไปใช้ 1. ควรส่งเสริมให้มีสถานที่ที่เป็นส่วนรวมของชุมชนสำหรับใช้ในการออกกำลังกายและการพักผ่อนหย่อนใจกระจาย ให้ทั่วถึงอย่างน้อยชุมชนละ 1 แห่ง ตามสภาพความเหมาะสมของแต่ละชุมชน เพื่อให้ครอบครัวใช้เป็นที่พักผ่อนและเป็นศูนย์รวมให้ครอบครัวในแต่ละชุมชนใช้ทำกิจกรรมสันทนาการร่วมกัน อันจะนำไปสู่ความเข้มแข็งของครอบครัวและชุมชนต่อไป 2. หน่วยงานภาครัฐระดับท้องถิ่น เช่น อบต. อบจ. หรือเทศบาล ควรค้นหาและหาแนวทางช่วยเหลือครอบครัวที่มีรายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่าย โดยสร้างความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กรมพัฒนาชุมชน และสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในการให้ความช่วยเหลือครอบครัว 3. ส่งเสริมให้มีการทำบัญชีรายรับรายจ่ายของครอบครัวในแต่ละเดือน ภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการการให้ความรู้ในการจัดทำบัญชีรายรับ- รายจ่ายของครอบครัวให้ครอบคลุมทุกครอบครัว 4. ควรมีการรณรงค์ให้ความรู้และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตนเองอย่างต่อเนื่องแก่กลุ่มเยาวชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อยาเสพติด เพศสัมพันธ์ การเรียน และ การรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ผ่านสื่อทุกประเภทเพื่อให้กลุ่มเยาวชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง ทันสมัย และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยเฉพาะโทษของสารกระตุ้นประสาท เช่น ยาบ้า ยาอี การมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย 5. ควรมีการให้ความรู้ทางด้านการสื่อสารวิธีการสื่อความหมาย การใช้คำสั่งและ การอบรมสั่งสอนสมาชิกในครอบครัว โดยเฉพาะครอบครัวที่มีบุตรเป็นเยาวชน เนื่องความเจริญด้านเทคโนโลยี ไอที การสื่อสารเจริญมากขึ้น ทำให้เยาวชนสมาชิกของครอบครัวมีการสื่อสารกับพ่อ แม่ปู่ย่า ตายายไม่ทันกันเพราะการศึกษาต่างกัน ประกอบกับการเลี้ยงดูของพ่อแม่ยังยึดหลักการเลี้ยงดูแบบเดิมๆ อาจทำให้การสื่อสารของสมาชิกในครอบครัวมีความเห็นแตกต่างกันได้ทั้งที่คุยในเรื่องเดียวกัน 2. การทำวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรมีการศึกษาเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาถึงสุขภาพครอบครัวโดยมองผ่านกิจวัตรสุขภาพของครอบครัว การทำหน้าที่ของครอบครัว ท่ามกลางบริบทหรือสิ่งแวดล้อมภายในและภายนอกครอบครัวของครอบครัว ในครอบครัวชนบทและเขตเมือง 2. ควรศึกษาถึงปัจจัยภายนอกครอบครัวที่มีผลต่อภาวะสุขภาพครอบครัวทั้งโดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการทำหน้าที่ และด้านกิจวัตรสุขภาพของครอบครัว 3. ควรมีการศึกษาปรากฏการณ์ของสุขภาพครอบครัวโดยมองผ่านกิจวัตรสุขภาพ การทำหน้าที่ของครอบครัวเมื่อสมาชิก ในครอบครัวเกิดเจ็บป่วยด้วยโรคทั่วไปและโรคเรื้อรัง เอกสารอ้างอิง กระทรวงสาธารณสุข. (2548). การสาธารณสุขไทย 2548-2550. สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2551 จาก http://www.moph.go.th/ops/health_50/2548_2550.html. ทัศนีย์ ทองสว่าง. (2549). สังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์. นภดล กรรณิกา. (2554). การจัดอันดับความรู้สึกของประชาชนต่อจังหวัดอยู่แล้วเป็นสุข.กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ. บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2547). ระเบียบวิธีการ วิจัยทางพยาบาลศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3).กรุงเทพฯ: ยูแอนโอ อินเตอร์มีเดีย. พิมภา สุตรา. (2541). การพยาบาลครอบครัว: ครอบครัวระยะมีบุตรวัยรุ่น.ขอนแก่น: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. พิมภา สุตรา, ลัดดา เหมาะสุวรรณ, จิราพร ชมพิกุล และภัทรา สง่า. (2549). ภาวะวิกฤตในครอบครัวไทย. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 29(2), 26-36. วีระศักดิ์ มโนวรรณ์. (2547). คุณภาพชีวิตของประชาชนตอนกลางลุ่มแม่น้ำอิง ด้านความมั่นคงในการดำเนินชีวิตในครอบครัวและชุมชน : กรณีศึกษา อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย. ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชการ. ( 2551). แบบสรุปการสำรวจข้อมูลประชากร ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2551. อุตรดิตถ์: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์. สมพร วัฒนนุกุลเกียรติ.(2542). การตั้งครรภ์ไม่ ตั้งใจ: บทบาทของใครที่ต้องทบทวน. วารสารศูนย์บริการวิชาการ, 7(4),47-53. สาโรจน์ ใจมุข, อังคาร สอนถา (ผู้บรรยาย). (6-8 กรกฎาคม 2548). สุขภาพจิต ผสมผสานงานเอดส์เน้นคุณภาพชีวิตและชุมชน. ใน การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติครั้งที่ 4 เรื่องสุขภาพจิตกับภัยพิบัติ (หน้า 58-60).กรุงเทพฯ: กรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข. สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. (2547). นโยบายและยุทธ์ศาสตร์การพัฒนาสถาบัน ครอบครัวพ.ศ. 2547-2556. กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดอุตรดิตถ์. (2552). รายงานสถานการณ์ทางสังคมจังหวัดอุตรดิตถ์ ปี2551. อุตรดิตถ์: สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ มนุษย์จังหวัดอุตรดิตถ์. (2553). รายงานสถานการณ์ ทางสังคมจังหวัดอุตรดิตถ์ ปี2552. อุตรดิตถ์: สำนักงานพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2549). สถานการณ์ครอบครัวไทย. กรุงเทพฯ: สำนักสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สำนักส่งเสริมสุขภาพ.(2540). การศึกษา ผลการวิจัยและแนวทางการ เสริมสร้างครอบครัว ที่พึงประสงค์ของไทย. กรุงเทพฯ: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. อรวรรณ สุวิทยาพันธุ์. (2547). ผลของการใช้รูปแบบการประเมินสุขภาพของแคลการี่ต่อความสามารถในการประเมินสุขภาพครอบครัวของพยาบาล. วิทยานิพนธ์ พย.ม., มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี. Denham, Sharon A. (2003). Family Health A Framework for Nursing. Philadelphia: F.A.Davis.

วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สุขภาพครอบครัว

บทความวิจัย การศึกษาสุขภาพครอบครัวที่อาศัยในจังหวัดอุตรดิตถ์
A Study of Family Health of Families Living in Uttaradit Province
เพ็ญจรินทร์ ธนเกริกเกียรติ (Penjarin Thanakroekkiat) *
จันทกานต์ กาญจนเวทางค์ (Jantakan Kanjanawetang) **
วรรณวดี เนียมสกุล (Wanwadee Neamskul)***
บทคัดย่อ สุขภาพครอบครัว คือ สภาวะการดำรงชีวิตของสมาชิกและครอบครัวโดยรวม โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ครอบครัวได้มาซึ่งศักยภาพในการคงไว้ รักษา ป้องกัน ส่งเสริม และฟื้นฟูความอยู่ดีมีสุขของสมาชิกและครอบครัวโดยรวม ซึ่งสภาวะการดำรงชีวิตนี้มีลักษณะเป็นกระบวนการที่มี การเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกครอบครัว การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะทั่วไปและสำรวจสุขภาพของครอบครัวที่อาศัยในจังหวัดอุตรดิตถ์ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลด้วยแบบวัดสุขภาพครอบครัวไทย ระหว่างเดือนมิถุนายน 2552 ถึงมกราคม 2553 จำนวน 440 ครัวเรือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าสถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1. ลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง เป็นครอบครัวเดี่ยว (ร้อยละ 47.00) รองลงมาคือ ครอบครัวขยาย (ร้อยละ 36.80 ) และครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว (ร้อยละ 16.20) ประกอบอาชีพเกษตรกรรม (ร้อยละ 35.08) และรับจ้าง (ร้อยละ 32.36) มีรายได้ต่ำกว่า 5,000 บาท (ร้อยละ 38.90) และระหว่าง 5,000-10,000 บาท (ร้อยละ 30.00) เมื่อพิจารณาถึงเศรษฐกิจของครอบครัวพบว่า มีเพียงร้อยละ 58.90 ที่มีรายได้เพียงพอต่อการใช้จ่ายและเหลือเก็บ และร้อยละ 18.20 มีรายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่าย อาศัยอยู่ในบ้านของตนเอง (ร้อยละ 94.80) โดยอาศัยอยู่มานานกว่า 30 ปี ถึงร้อยละ 66.40 มีสมาชิกที่ต้องพึ่งพา (ร้อยละ 52.30) ประกอบด้วยครอบครัวที่มีเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี (ร้อยละ 42.00) ผู้สูงอายุ (ร้อยละ 37.50) ผู้เจ็บป่วยเรื้อรัง (ร้อยละ 32.30) และผู้พิการ (ร้อยละ 7.50) 2. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีสุขภาพครอบครัวโดยรวมอยู่ในระดับดี ( = 4.18, SD = 0.41) เมื่อแยกรายด้านพบว่าด้านที่อยู่ในระดับดี ได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อมของครอบครัว ด้านการทำหน้าที่ของครอบครัว และ ด้านกิจวัตรสุขภาพของครอบครัว ( = 4.30, SD = 0.46 , = 4.19, SD = 0.48, = 4.13, SD = 0.40) ตามลำดับ โดยด้านสิ่งแวดล้อมของครอบครัวมีค่าเฉลี่ยคะแนนสุขภาพมากที่สุด คำสำคัญ : ครอบครัว สุขภาพครอบครัว * พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ** อาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร *** พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ Abstract This study aimed to explore general characteristics and family health of families living in Uttaradit province. A sample of 440 families was randomly selected using multi-stage sampling. Data collection was conducted using the Thai family health inventory during June 2009 - January 2010. Computer software program was applied to analyze data and indicated frequency, percentage, average, and standard deviation. The research results showed that: 1. General characteristics of most samples were nuclear families (47.00%), extended families (36.80%) and single-parent family (16.20%), respectively. Their occupations were farmers (35.80%) and labor (32.36%). They earned income per month less than 5,000 baht (38.90%) and between 5,000-10,000 baht (30.00%). About their economic status, 58.90% of families had income more than expense and 18.20% of families had debt due to income less than expense. Nowadays, most families live in their own house (94.80%) and stay in their own community longer than 30 years (66.40%). Many families (52.30) have dependent members composed of families with their children less than 12 year olds (42.00%), older adults (37.50%), chronic patients (32.30%), and disable persons (7.50%). 2. Most of the sample had family health at the good level ( = 4.18, SD = 0.41).When considering in each dimension, family environment ,family functioning, and family health routines were also at the good level ( = 4.30, SD = 0.46, = 4.19, SD = 0.48, and = 4.13, SD = 0.40), respectively. Whereby, environmental dimension has highest mean score on health. Keywords : Family , Family Health ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา สุขภาพครอบครัว คือ สภาวะการดำรงชีวิตของสมาชิกและครอบครัวโดยรวม โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ครอบครัวได้มาซึ่งศักยภาพในการคงไว้ รักษา ป้องกัน ส่งเสริม และฟื้นฟูความอยู่ดีมีสุขของสมาชิกและครอบครัวโดยรวม ซึ่งสภาวะการดำรงชีวิตนี้มีลักษณะเป็นกระบวนการที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม ทั้งภายในและภายนอกครอบครัว การมีปฏิสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัว และพฤติกรรมสุขภาพที่เป็นกิจวัตรของครอบครัว (Denham, 2003) ดังนั้นครอบครัวจะสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขหรือมีภาวะสุขภาพที่ดีได้นั้นครอบครัวต้องสามารถทำหน้าที่ได้ดี มีกิจวัตรด้านสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม สมาชิกในครอบครัวมีสุขภาพแข็งแรง และอาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี ในทางตรงกันข้ามหากสุขภาพครอบครัวไม่ดีย่อมส่งผลให้ความผาสุกในครอบครัวลดลงและก่อให้เกิดปัญหาครอบครัวและสังคมตามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จากการจัดอันดับความรู้สึกของประชาชนต่อจังหวัดอยู่แล้วเป็นสุขพบว่าจังหวัดอุตรดิตถ์เป็นจังหวัดที่น่าอยู่ที่สุดอันดับ 2 ของประเทศ(นภดล กรรณิกา, 2554) แต่จากการสำรวจสัมพันธภาพที่อบอุ่นในครอบครัวของสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวพบว่า ภาคเหนือมีสัมพันธภาพที่อบอุ่นในครอบครัวต่ำถึงร้อยละ 70.70 (สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว, 2548, หน้า 33) โดยเฉพาะในจังหวัดอุตรดิตถ์มีการหย่าร้างเพิ่มมากขึ้นจาก 746 ครอบครัวในปี 2549 เป็น 755 ครอบครัว ในปี 2551 (สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดอุตรดิตถ์, 2552) และจากรายงานการวิเคราะห์ข้อมูลปัญหาสังคมจังหวัดอุตรดิตถ์ (สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดอุตรดิตถ์, 2553, หน้า 55 – 67)พบสถานการณ์ปัญหาครอบครัวด้าน การไม่เคารพเชื่อฟัง ญาติผู้ใหญ่ร้อยละ 38.5 การไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกันร้อยละ 36.3 ขาดการดูแลซึ่งกันและกันร้อยละ 36.3 การไม่มีสัมพันธภาพในครอบครัวที่ดีต่อกันร้อยละ 36 ปัญหาเกี่ยวกับการทำกิจกรรมร่วมกันร้อยละ 34.8 ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลเชิงคุณภาพจากรายงานเดียวกันที่พบปัญหาความขัดแย้งระหว่าง สามี ภรรยาและปัญหาการหย่าร้าง นอกจากความรักความผูกพันในครอบครัวแล้วปัญหาที่เกิดจากการขาดปัจจัยในการดำเนินชีวิต หรือปัญหาความเครียดจากการดำเนินชีวิตที่ต้องแข่งขันหารายได้เพิ่มขึ้น กระแสบริโภคนิยมที่ให้ความสำคัญกับคุณค่าทางวัตถุและทรัพย์สิน วิถีการดำเนินชีวิตของสามี และภรรยาจึงเต็มไปด้วยความเร่งรีบและต้องออกไปทำงานนอกบ้าน การทุ่มเทเวลาให้กับ การทำงานมากเกินไปเพื่อหารายได้และลดภาระหนี้สินจนไม่มีเวลาให้กับครอบครัว การดำเนินชีวิตลักษณะนี้สนับสนุนทำให้การเอาใจใส่ต่อครอบครัวและเอื้ออาทรภายในครอบครัวลดน้อยลง สมาชิกในครอบครัวไม่มีเวลามาร่วมคิด ร่วมสนทนามากเท่าในอดีต ทำให้สมาชิกในครอบครัวเหินห่างจากกันและกัน ไม่มีเรื่องสนทนาหรือไม่มีความสนใจที่ตรงกัน ขณะเดียวกันพ่อแม่ก็ไม่ค่อยมีเวลาในการสนทนาพูดคุยกับลูก (สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดอุตรดิตถ์, 2552) ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านความพร้อมทางวุฒิภาวะ หรือความฉลาดทางอารมณ์อันเป็นที่มาของปัญหาความรุนแรงในครอบครัวเช่น เด็กและสตรีที่ถูกทารุณกรรม (กระทรวงสาธารณสุข, 2548,หน้า 16) ในฐานะพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน ซึ่งเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการดูแลสุขภาพครอบครัว โดยการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของครอบครัวและชุมชน ซึ่งเป็นการประเมินข้อมูลพื้นฐานแรกในการมองหาปัญหาสุขภาพครอบครัวโดยรวม ทั้งการสำรวจสุขภาพครอบครัวในปัจจุบันมีวิธีการได้มาซึ่งข้อมูลที่ซับซ้อน คำถามเป็นนามธรรมยากต่อการประเมินโดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับจิตวิญาณ ทัศนคติ ค่านิยม หลักในการดำเนินชีวิต และใช้เวลานานในการเก็บข้อมูล (อรวรรณ สุวิทยพันธุ์, 2547, หน้า 70) และจากการศึกษาของDenham (2003, p.145) พบว่าพฤติกรรมด้านสุขภาพ ของสมาชิกที่กระทำซ้ำ ๆกัน จนเป็นภาพพฤติกรรมของครอบครัวหรือกิจวัตรสุขภาพของครอบครัวนั้นสามารถทำนายความสม่ำเสมอในวิถีชีวิตครอบครัวและสะท้อนภาวะสุขภาพครอบครัวนั้นได้ จากการทบทวนเอกสารและงานวิจัยต่าง ๆ พบว่า สุขภาพครอบครัว ล้วนได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม การมีปฏิสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัว และพฤติกรรมสุขภาพของสมาชิกในครอบครัวที่ปฏิบัติกันจน เป็นกิจวัตร ทำให้ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษาการประเมินสุขภาพครอบครัวโดยใช้กรอบแนวคิดสุขภาพครอบครัวของ Denham (2003) ซึ่งให้มุมมองในการศึกษาสุขภาพครอบครัวผ่านกิจวัตรสุขภาพของครอบครัว การทำหน้าที่ของครอบครัว ท่ามกลางบริบทหรือสิ่งแวดล้อมภายในและภายนอกครอบครัวของครอบครัว การใช้กรอบแนวคิดนี้ทำให้สามารถมองสุขภาพครอบครัวได้ชัดเจน มีความเป็นองค์รวม ให้แนวทางในการประเมินและค้นหาปัญหาสุขภาพของครอบครัวได้อย่างครอบคลุม เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาเป็นข้อมูลพื้นฐาน อันจะนำไปสู่การพัฒนาแนวทางและการวางแผนดูแลสุขภาพของครอบครัวในเชิงรุก อันจะนำไปสู่ครอบครัวสุขภาพดี ทั้งกาย จิต และสังคมต่อไป วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาลักษณะทั่วไปของครอบครัว ที่อาศัยในจังหวัดอุตรดิตถ์ 2. เพื่อสำรวจสุขภาพของครอบครัวที่อาศัยในจังหวัดอุตรดิตถ์ทั้งโดยรวมและรายด้านได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการทำหน้าที่ และด้านกิจวัตรสุขภาพของครอบครัว วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (survey research) โดยมีประชากรเป้าหมาย คือครอบครัวที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 126,080 ครอบครัว (สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดอุตรดิตถ์, 2551) กำหนดขนาดตัวอย่าง ด้วยวิธีของ Taro Yamane(1973 อ้างอิงใน บุญใจ ศรีสถิตนรากูร, 2547) ได้ 399 ครัวเรือน เพื่อป้องกันการสูญหายของกลุ่มตัวอย่างจึงเพิ่มจำนวนตัวอย่างอีกประมาณร้อยละ 10 ได้จำนวนตัวอย่างทั้งหมด 440 ครัวเรือน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (multi-stage sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามคุณลักษณะทั่วไปของครอบครัว และ 2) แบบวัดสุขภาพครอบครัวไทย ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยใช้รูปแบบสุขภาพครอบครัว ของ เดนแฮม (Denham, 2003) เป็นกรอบแนวคิด ประกอบด้วย สุขภาพครอบครัวด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการทำหน้าที่ และ ด้านกิจวัตรสุขภาพ ซึ่งแบบวัดสุขภาพครอบครัวไทยได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน และได้นำไปทดลองใช้กับครอบครัวซึ่งมีลักษณะคล้ายกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 ครอบครัว คำนวณค่าความเที่ยงโดยใช้สูตรประสิทธ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) ได้ค่าความเที่ยงด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการทำหน้าที่ ด้านกิจวัตรสุขภาพ และแบบวัดทั้งฉบับเท่ากับ 0.841, 0.872, 0.825 และ 0.920 ตามลำดับ จากนั้นนำค่าเฉลี่ยคะแนนสุขภาพครอบครัว มาแบ่งเป็น 5 ระดับ ดังนี้ 1.00 - 1.50 หมายถึง สุขภาพไม่ดี 1.51 - 2.50 หมายถึง สุขภาพไม่ค่อยดี 2.51 - 3.50 หมายถึง สุขภาพปานกลาง 3.51 - 4.50 หมายถึง สุขภาพดี 4.51 - 5.00 หมายถึง สุขภาพดีมาก การพิทักษ์สิทธิ์ของกลุ่มตัวอย่าง การศึกษาครั้งนี้ผ่านการการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมในการวิจัยมหาวิทยาลัยนเรศวร นอกจากนี้ผู้วิจัยมีเอกสารชี้แจงการพิทักษ์สิทธิ์กับตัวแทนครอบครัวและเปิดโอกาสให้ตัวแทนครอบครัวตัดสินใจเข้าร่วมการวิจัยด้วยตนเองโดยไม่มีการบังคับ วิธีการรวบรวมข้อมูล การศึกษาครั้งนี้ เก็บข้อมูลจากสมาชิกที่เป็นตัวแทน (representative) ของครอบครัวบนพื้นฐานความเชื่อที่ว่าครอบครัวคือหน่วยเดียวไม่สามารถแบ่งแยกได้ (family as a unit) และตัวแทนของครอบครัวคือบุคคลที่ครอบครัวยอมรับว่าสามารถให้ข้อมูลภาพรวมของสุขภาพครอบครัวได้ดีที่สุด ซึ่งการเก็บรวบรวมข้อมูลมีขั้นตอนดังนี้ 1. ทำหนังสือขออนุญาตดำเนินการวิจัยจากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร 2. ประสานงานกับหัวหน้าหน่วยงาน/หัวหน้าสถานีอนามัย และผู้ช่วยเก็บข้อมูลในแต่ละพื้นที่ซึ่งเป็น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำชุมชนจำนวน 20 คน เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ การ เก็บข้อมูล คุณสมบัติของผู้ตอบแบบสอบถาม การพิทักษ์สิทธิ และข้อพึงระวังในการเก็บข้อมูล 3. สุ่มหาตัวอย่างตามแผนที่วางไว้เพื่อเลือกบ้านเลขที่ตามบัญชีรายชื่อของแต่ละหมู่บ้าน 4. เก็บข้อมูลตามแผนที่วางไว้ 5. รวบรวมและตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถาม ซึ่งได้แบบสอบถามกลับคืนจำนวน 440 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100 การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Windows วิเคราะห์ข้อมูลหาค่าการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย ตอนที่1 ลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นครอบครัวเดี่ยว (ร้อยละ47) มีสมาชิกครอบครัวละ 3-4 คน(ร้อยละ52.3) ประกอบอาชีพเกษตรกรรม (ร้อยละ 35.08) รายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 5,000 บาท (ร้อยละ 38.90) รายได้เพียงพอใช้จ่ายและเหลือเก็บ (ร้อยละ 58.90) เกือบทั้งหมดนับถือศาสนาพุทธ (ร้อยละ 99.8) มีบ้านเป็นของตนเอง (ร้อยละ 94.80) อาศัยอยู่ในชุมชนนานกว่า 30 ปี (ร้อยละ 66.40) ครอบครัวที่มีสมาชิกที่ต้องการผู้ดูแล ได้แก่ เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง และผู้พิการ (คิดเป็นร้อยละ 42.00, 37.50, 32.30 และ 7.50 ตามลำดับ) โรคที่เจ็บป่วยมากที่สุด คือ ความดันโลหิตสูง และเบาหวาน ดังตาราง 1 ตาราง 1 ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ข้อมูลทั่วไป กลุ่มตัวอย่าง (n=440 ครอบครัว) จำนวน ร้อยละ ประเภทของครอบครัว ครอบครัวเดี่ยว 207 47.00 ครอบครัวขยาย 162 36.80 ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว 71 16.20 อาชีพของครอบครัว* เกษตรกรรม 181 35.08 รับจ้างรายวัน 167 32.36 ลูกจ้างบริษัท 32 6.21 ค้าขายธุรกิจส่วนตัว 80 15.50 รับราชการ/รัฐวิสาหกิจ 34 6.58 บุตรให้/เงินผู้สูงอายุ 22 4.27 ความสมดุลของรายได้ เพียงพอเหลือเก็บ 259 58.90 เพียงพอไม่เหลือเก็บ 101 23.00 ไม่เพียงพอ 80 18.10 ตาราง 1 ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง (ต่อ) ข้อมูลทั่วไป กลุ่มตัวอย่าง (n=440 ครอบครัว) จำนวน ร้อยละ รายได้ของครอบครัว ต่ำกว่า 5,000 บาท 171 38.90 5,001 –10,000 บาท 132 30.00 10,001-15,000 บาท 59 13.40 15,001-20,000 บาท 32 7.30 20,001-25,000 บาท 16 3.60 25,001-30,000 บาท 9 2.00 มากกว่า 30,000 21 4.80 ลักษณะการครอบครองที่อยู่อาศัย บ้านของตนเอง 417 94.80 บ้านเช่า 10 2.20 อาศัยบ้านผู้อื่น 13 3.00 ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชน ต่ำกว่า 5 ปี 14 3.20 จนถึงปัจจุบัน 6 – 10 ปี 21 4.80 11 – 15 ปี 34 7.70 16 – 20 ปี 29 6.60 21 – 25 ปี 20 4.50 26 – 30 ปี 30 6.80 มากกว่า 30 ปีขึ้นไป 292 66.40 จำนวนสมาชิกที่อาศัยอยู่ใน 1-2 คน 59 13.4 ครอบครัว 3-4 คน 230 52.3 5-8 คน 145 32.9 มากกว่า 8 คน 6 1.4 สมาชิกในครอบครัวที่ต้องการ ผู้สูงอายุ มี 165 37.5 การพึ่งพา ไม่มี 275 62.50 ผู้พิการ มี 33 7.5 ไม่มี 407 92.50 เด็กอายุน้อยกว่า 12 ปี มี 185 42.00 ไม่มี 255 58.00 ผู้ที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง มี 142 32.30 ไม่มี 298 67.70 โรคที่สมาชิกในครอบครัวป่วย* เบาหวาน 67 31.90 โรคหัวใจ 36 17.15 ความดันโลหิตสูง 103 49.05 *ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ ตอนที่ 2 สุขภาพครอบครัวโดยรวมและรายด้าน จากการศึกษาพบว่าครอบครัวที่อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดอุตรดิตถ์มีคะแนนเฉลี่ย สะท้อนสุขภาพครอบครัวโดยรวมอยู่ในระดับดี โดยครอบครัวส่วนใหญ่ (ร้อยละ 70.45) มีคะแนนเฉลี่ยระดับสุขภาพอยู่ในระดับดี รองลงมาคือ ระดับดีมาก (ร้อยละ 24.78) และระดับปานกลาง (ร้อยละ 4.77) ตามลำดับ และพบว่า ครอบครัวในจังหวัดอุตรดิตถ์มีคะแนนเฉลี่ยสุขภาพครอบครัวรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับดี โดยด้านสิ่งแวดล้อมมีคะแนนเฉลี่ยเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือด้านการทำหน้าที่และด้านกิจวัตรสุขภาพของครอบครัว ( = 4.30, S.D. = 0.46 , = 4.19, S.D. = 0.48, = 4.13, S.D. = 0.41) ตามลำดับ ดังตาราง 2 ตาราง 2 ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของภาวะสุขภาพครอบครัวทั้งโดยรวมและรายด้าน (n = 440) ระดับสุขภาพ สุขภาพครอบครัว ดีมาก ดี ปานกลาง S.D. จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ ด้านสิ่งแวดล้อม 167 37.95 242 55.00 31 7.05 4.30 0.46 ด้านการทำหน้าที่ 134 30.46 265 60.22 41 9.32 4.19 0.48 ด้านกิจวัตรสุขภาพ 84 19.09 322 73.18 34 7.73 4.13 0.41 โดยรวม 109 24.78 310 70.45 21 4.77 4.18 0.40 เมื่อพิจารณาสุขภาพด้านสิ่งแวดล้อมของครอบครัวเป็นรายข้อ พบว่าข้อความส่วนใหญ่จำนวน 17 ข้อจากทั้งหมด 20 ข้อ มีค่าเฉลี่ยคะแนนสุขภาพอยู่ในระดับดี และมี 3 ข้อความที่มีค่าเฉลี่ยในระดับดีมาก ได้แก่ การอาศัยอยู่ในบ้านที่แข็งแรง ทนทาน กันแดดกันฝนได้ ( = 4.63, S.D. = 0.66) การมีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งโดยไม่ต้องกังวลว่าจะมีปัญหาไร้ที่อยู่ ( = 4.58, S.D. = 0.81) และ ความสะดวกด้านบริการสาธารณูปโภค เช่น ถนน ประปา ไฟฟ้า ( = 4.50, S.D. = 0.71) ดังตาราง 3 ตาราง 3 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระดับสุขภาพครอบครัวด้านสิ่งแวดล้อม ลำดับที่ สุขภาพครอบครัวด้านสิ่งแวดล้อม S.D. ระดับ 8. การได้อาศัยอยู่ในบ้านที่แข็งแรง ทนทาน กันแดดกันฝนได้ 4.63 0.66 ดีมาก 7. การมีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งโดยไม่ต้องกังวลว่าจะมีปัญหาไร้ที่อยู่ 4.58 0.81 ดีมาก 19. ความสะดวกด้านบริการสาธารณูปโภค เช่น ถนน ประปา ไฟฟ้า 4.50 0.71 ดีมาก 16. การไม่ได้รับความเดือดร้อนจากแหล่งมั่วสุม 4.48 0.99 ดี 10. บริเวณทางเข้าบ้านมีความปลอดภัย 4.46 0.82 ดี 17. สถานบริการสุขภาพ เช่น สอ/รพ/คลินิก ใช้เวลาเดินทางไปถึงไม่เกิน 30 นาที 4.45 0.77 ดี 9. การมีสิ่งของจำเป็นในการดำรงชีวิต พียงพอกับความต้องการของสมาชิก เข่น อาหาร เสื้อผ้า ผ้าห่ม ยารักษาโรค เป็นต้น 4.42 0.80 ดี 1. การได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตากัน 4.33 0.93 ดี 3. การไม่มีภาระต้องดูแลสมาชิกที่พิการหรือเป็นโรคทางพันธุกรรม 4.33 1.27 ดี 13. เพื่อนบ้านใกล้เคียงเป็นมิตรกับสมาชิกในครอบครัว 4.32 0.71 ดี 15. การไม่ถูกรบกวนจากมลพิษของโรงงานที่ตั้งอยู่ ใกล้บ้าน 4.32 1.12 ดี 5. การยึดหลักศาสนาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตประจำวัน 4.31 0.73 ดี 11. บริเวณบ้านโดยรอบสะอาด เป็นระเบียบ อากาศถ่ายเท และมีที่ทิ้งขยะถูกสุขลักษณะ 4.30 0.84 ดี 4. ความใกล้ชิดสนิทสนมกับครอบครัวของญาติพี่น้อง 4.24 0.81 ดี 6. การถ่ายทอดธรรมเนียมปฏิบัติ ประเพณีและวัฒนธรรมให้บุตรหลาน 4.23 0.77 ดี 12. การได้รับการเคารพนับถือ จากครอบครัวเพื่อนบ้าน 4.23 0.77 ดี 14. เมื่อต้องการความช่วยเหลือสามารถไหว้วานครอบครัว เพื่อนบ้านได้ 4.20 0.77 ดี 18. การอาศัยอยู่ในชุมชนที่สนับสนุนให้สมาชิกได้ออกกำลังกาย พักผ่อนหย่อนใจหรือเข้าร่วมชมรมเสริมสร้างสุขภาพ เป็นต้น 3.87 0.93 ดี 20. การดูแลช่วยเหลือจาก อบต.,อบจ.หรือเทศบาล เมื่อประสบปัญหา 3.86 1.05 ดี 2. การมีรายได้และทรัพย์สินเพียงพอสำหรับการใช้จ่ายแต่ละเดือน 3.85 1.10 ดี เมื่อพิจารณาสุขภาพด้านการทำหน้าที่ของครอบครัวเป็นรายข้อพบว่าข้อความส่วนใหญ่จำนวน 22 ข้อจากทั้งหมด 25 ข้อ มีค่าเฉลี่ยคะแนนสุขภาพในระดับดี และมี 2 ข้อความ ที่มีค่าเฉลี่ยระดับดีมาก คือการไม่เคยมีความผิดทางกฎหมาย ( = 4.53, S.D. = 1.04) และ การได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันอย่างมีความสุขในวันหยุด ( =4.52, S.D. = 0.75) นอกจากนี้ยังมี 1 ข้อความที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดและสะท้อนสุขภาพในระดับปานกลาง คือ ความสามารถในการทนรับปัญหาหรือเหตุร้ายที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด ( = 3.21, S.D. = 1.44) ดังตาราง 4 ตาราง 4 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและระดับสุขภาพด้านการทำหน้าที่ของครอบครัว ลำดับที่ สุขภาพครอบครัวด้านการทำหน้าที่ S.D. ระดับ 1. การไม่เคยมีความผิดทางกฎหมาย 4.53 1.04 ดีมาก 2. การได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันอย่างมีความสุขในวันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ หรือวัดหยุดอื่นๆ 4.52 0.75 ดีมาก 3. ความใส่ใจเกี่ยวกับการคบเพื่อนของสมาชิกในครอบครัว 4.33 0.71 ดี 4. ความห่วงใยกันและกันเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การเกิดอุบัติเหตุ หรือความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 4.47 0.64 ดี 5. การให้ความสำคัญ/ชื่นชมยินดีกับความสำเร็จ หรือในวันสำคัญ 4.47 0.68 ดี 6. ความรัก ห่วงใย และเอื้ออาทรกันในยามทุกข์และยามสุข 4.40 0.74 ดี 7. ความรักใคร่ปองดอง มีความสามัคคี ช่วยเหลือกันดี 4.39 0.74 ดี 8. ความรู้สึกห่างเหินกันเหมือนต่างคนต่างอยู่ 4.38 1.08 ดี 9. การให้ความสำคัญกับการไปทำบุญตักบาตรหรือปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา 4.35 0.78 ดี 10. ความสุขในการรับประทานอาหาร หรือทำกิจกรรมยามว่างร่วมกัน 4.34 0.75 ดี 11. ความร่วมแรงร่วมใจกันแก้ไขปัญหาหรือเหตุร้ายที่เกิดขึ้นโดยไม่ทอดทิ้งกัน 4.34 0.77 ดี 12. โอกาสที่สามาชิกได้เรียนจนจบชั้นประถมศึกษาเป็นอย่างต่ำ 4.33 1.03 ดี 13. ความใส่ใจการเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์จิตใจและความรู้สึกของสมาชิก 4.24 0.76 ดี 14. การร่วมแรงร่วมใจกันทำงานจนสำเร็จโดยไม่เกี่ยงว่าเป็นหน้าที่ของใคร 4.21 0.77 ดี 15. การดูแลเอาใจใส่สมาชิกในครอบครัวที่เจ็บป่วยหรือพิการเป็นอย่างดี 4.16 1.15 ดี 16. ความสามารถทำงานหาเงินเลี้ยงตนเองหรือครอบครัว 4.17 1.01 ดี 17. สามารถพูดคุยกันได้ทุกเรื่องอย่างไม่ปิดบังกัน 4.14 0.83 ดี 18. การแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือหาความรู้เพื่อช่วยกันแก้ปัญหา 4.12 0.81 ดี 19. การให้ความช่วยเหลือโดยไม่ลังเลใจถ้าสมาชิกมีปัญหา 4.11 0.89 ดี 20. ความสามารถในการจัดการปัญหาเมื่อเกิดปัญหาหรือเหตุร้ายที่ไม่คาดคิด 4.08 0.86 ดี 21. การเล่นการพนันหรือหวยใต้ดิน 4.04 1.06 ดี 22. การใช้คำสั่งแทนการไหว้วานหรือขอร้อง 3.94 1.24 ดี 23. การอบรมสั่งสอนสมาชิกในครอบครัวให้เชื่อฟังเป็นเรื่องยาก 3.88 1.27 ดี 24. การทะเลาะกันเพราะพูดคุยกัน ไม่รู้เรื่องเป็นเรื่องปกติในครอบครัว 3.65 1.33 ดี 25. ความสามารถในการทนรับปัญหาหรือเหตุร้ายที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด 3.21 1.44 ปานกลาง เมื่อพิจารณากิจวัตรสุขภาพครอบครัวเป็นรายข้อพบว่า ข้อความส่วนใหญ่ 40 ข้อจากทั้งหมด 50 ข้อ มีค่าเฉลี่ยคะแนนสุขภาพในระดับ ดี ส่วนข้อความที่มีค่าเฉลี่ยระดับดีมาก มี 7 ข้อ คือ การไม่ใช้สารกระตุ้นประสาท เช่น ยาบ้า ยาอี ( = 4.94, S.D. = 0.29) การไม่มีเพศสัมพันธ์ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหรือการตั้งครรภ์ที่ไม่ต้องการ ( = 4.84, S.D. = 0.56) การไม่ทะเลาะวิวาทหรือทำร้ายร่างกายกันในครอบครัว ( = 4.75, S.D. = 0.70) การไม่คบ เพื่อนที่ประพฤติตัวเกเร ( = 4.75, S.D. = 0.70) การไม่อ่านหนังสือการ์ตูนดูซีดี หรืออินเตอร์เน็ตที่มีภาพโป๊เปลือย ( = 4.72, S.D. = 0.69) การ แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งในตอนเช้าและก่อนเข้านอน ( = 4.51, S.D. = 0.70) และการปิดวาวเตาแก๊สหรือดับไฟเตาถ่านให้สนิทหลังทำกับข้าวเสร็จแล้ว ( = 4.51, S.D. = 0.73) ส่วนข้อความที่มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าข้ออื่นๆ ซึ่งสะท้อนสุขภาพในระดับปานกลาง คือ การไม่กินขนมถุงกรุบกรอบ น้ำอัดลม หรือผลไม้ดอง ( = 3.33, S.D. = 0.1.02) การออกกำลังกายจนได้เหงื่ออย่างน้อยครั้งละ 30 นาทีสัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง ( = 3.23, S.D. = 1.04) และการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของครอบครัวในแต่ละเดือน ( = 2.55, S.D. = 1.17) ซึ่งเป็นข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ดังตาราง 5 ตาราง 5 ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและร้อยละของครอบครัวจำแนกตามระดับสุขภาพด้านกิจวัตรสุขภาพของครอบครัว ลำดับที่ สุขภาพครอบครัวด้านกิจวัตรสุขภาพ S.D. ระดับ 1. การไม่ใช้สารกระตุ้นประสาท เช่น ยาบ้า ยาอี 4.94 0.29 มากที่สุด 2. การไม่มีเพศสัมพันธ์ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหรือการตั้งครรภ์ที่ไม่ต้องการ 4.84 0.56 มากที่สุด 3. การไม่ทะเลาะวิวาทหรือทำร้ายร่างกายกันในครอบครัว 4.75 0.70 มากที่สุด 4. การไม่คบหากับเพื่อนที่ประพฤติตัวเกเร 4.75 0.70 มากที่สุด 5. การไม่อ่านหนังสือการ์ตูน ดูซีดี หรืออินเตอร์เน็ตที่มีภาพโป๊เปลือย 4.72 0.69 มากที่สุด 6. การแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ในตอนเช้าและก่อนเข้านอน 4.51 0.70 มากที่สุด 7. การปิดวาวเตาแก๊สหรือดับไฟเตาถ่านให้สนิทหลังทำกับข้าวเสร็จแล้ว 4.51 0.73 มากที่สุด 8. การบอกหรือสอนสมาชิกให้กินอาหารที่ปลอดภัยและมีประโยชน์ 4.45 0.68 มาก 9. การดูแลช่วยเหลือคนในครอบครัวที่เจ็บป่วยให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์หรือพยาบาล 4.43 0.64 มาก 10. การบอกหรือสอนสมาชิกให้มีความกตัญญู ซื่อสัตย์ ขยัน อดทน และมีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่น 4.45 0.65 มาก 11. การทำความสะอาดที่อยู่อาศัยให้สะอาด 4.42 0.70 มาก 12. การบอกหรือสอนสมาชิกให้รักษาสุขภาพไม่ให้เจ็บป่วยหรือได้รับอุบัติเหตุ 4.41 0.66 มาก 13. การตอบแทนบุญคุณพ่อแม่และผู้มีพระคุณ 4.39 0.77 มาก 14. การความชื่นชมยินดีเมื่อสมาชิกทำความดีหรือประสบความสำเร็จ 4.38 0.72 มาก 15. การกินอาหารครบทั้ง 5 หมู่ 4.37 0.75 มาก 16. การไม่ปล่อยให้ตนเองเจ็บป่วยรุนแรงจึงไปพบแพทย์ 4.36 1.06 มาก 17. การจัดหาอาหารและเครื่องนุ่งห่มได้เพียงพอกับความต้องการ 4.34 0.77 มาก ตาราง 5 ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและร้อยละของครอบครัวจำแนกตามระดับสุขภาพด้าน กิจวัตรสุขภาพของครอบครัว (ต่อ) ลำดับที่ สุขภาพครอบครัวด้านกิจวัตรสุขภาพ S.D. ระดับ 18. การกินยาตามแพทย์สั่งหรือไม่ได้ไปตรวจตามนัด 4.33 1.12 มาก 19. การเลือกไปรับการรักษาในสถานพยาบาลที่มีแพทย์/พยาบาลเป็นผู้ทำการรักษา 4.32 0.76 มาก 20. การเปิดประตู หน้าต่างห้องนอนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก 4.31 0.78 มาก 21. การถางหญ้าหรือเก็บกวาดสิ่งของที่รกรุงรัง 4.31 0.79 มาก 22. การสวมเสื้อผ้าที่สะอาดและไม่อับชื้น 4.30 1.11 มาก 23. การอยู่เป็นเพื่อนคอยช่วยเหลือปลอบโยนและให้กำลังใจหากมีใครเจ็บป่วย 4.29 0.73 มาก 24. การกำจัดขยะไม่ให้กองสุมอยู่ในบ้านและรอบๆบริเวณบ้าน 4.27 0.83 มาก 25. การอยู่เคียงข้าง คอยปลอบใจ และให้กำลังใจกันเมื่อมีปัญหาหรือเมื่อทุกข์ใจ 4.23 0.84 มาก 26. การทำกิจกรรมตามประเพณีและศาสนาร่วมกัน 4.17 0.79 มาก 27. การล้างมือด้วยสบู่หรือน้ำยาล้างมือก่อนหยิบอาหารเข้าปากหรือหลังขับถ่าย 4.16 0.87 มาก 28. การตรวจเช็คเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานพาหนะ ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยต่อ การใช้งาน 4.14 0.84 มาก 29. การล้างสารเคมีและสิ่งสกปรกออกจากผัก ผลไม้ ก่อนรับประทาน 4.14 0.92 มาก 30. การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงภายในและรอบๆ บริเวณบ้าน 4.13 0.90 มาก 31. การให้อภัยกันเมื่อคนในครอบครัวทำความผิด หรือทำบางสิ่งผิดพลาด 4.12 0.92 มาก 32. การไม่กินยาแก้ปวดหรือดื่มเครื่องดื่มชูกำลังขณะทำงาน 4.09 1.08 มาก 33. การไม่ระบายความโกรธด้วยการด่าว่า 4.08 1.05 มาก 34. การไม่เครียดจากที่ทำงานหรือโรงเรียน 4.05 0.99 มาก 35. การไม่กินยานอนหลับหรือยาแก้ปวดก่อนนอน 4.05 1.03 มาก 36. การให้ทาน บริจาคทรัพย์สิ่งของ หรือทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์ 4.03 0.85 มาก 37. การกินเนื้อสัตว์ที่ดิบหรือปรุงสุกๆดิบๆ 4.03 1.06 มาก 38. การบอกสอนสมาชิกเกี่ยวกับสิ่งเสพติด การคบเพื่อน หรือการประพฤตตัวไม่ดี 4.02 1.23 มาก 39. การไม่ดื่มเหล้า เบียร์ หรือไวน์จนมึนเมา 3.96 1.07 มาก 40. การหยอกล้อกันอย่างสนุกสนานในครอบครัว 3.95 0.84 มาก 41. การไม่สูบบุหรี่ 3.94 1.30 มาก 42. การใช้ช้อนกลางเมื่อรับประทานอาหารมากกว่า1 คน 3.93 1.05 มาก 43. การทำกิจกรรมร่วมกันอย่างมีความสุข 3.86 0.88 มาก 44. การกินอาหารโดยระวังเรื่องสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ 3.75 1.22 มาก 45. การไม่กู้ยืมเงินผู้อื่นเพื่อใช้จ่ายภายในครอบครัว 3.72 1.18 มาก 46. การวางของมีคมไว้ไม่เป็นที่เป็นทาง 3.61 1.55 มาก 47. การซื้ออาหารสำเร็จโดยคำนึงเรื่องผงชูรสหรือสารกันบูด 3.52 1.17 มาก 48. การไม่กินขนมถุงกรุบกรอบ น้ำอัดลม หรือผลไม้ดอง 3.33 1.02 ปานกลาง 49. การออกกำลังกายจนได้เหงื่ออย่างน้อยครั้งละ30 นาทีสัปดาห์ละ 3-5ครั้ง 3.23 1.04 ปานกลาง 50 การทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของครอบครัวในแต่ละเดือน 2.55 1.17 ปานกลาง การอภิปรายผล 1. ลักษณะทั่วไปของครอบครัว เมื่อเปรียบเทียบลักษณะกลุ่มตัวอย่างกับประชากรเป้าหมาย พบว่ามีลักษณะใกล้เคียงกัน กล่าวคือ จากข้อมูลสำรวจสำมะโนประชากร (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2549) พบว่าครอบครัวที่อาศัยในจังหวัดอุตรดิตถ์ส่วนใหญ่เป็นครอบครัวเดี่ยว (ร้อยละ 59.00) และครอบครัวขยาย (ร้อยละ 30.85) แต่ละครอบครัวโดยมาก (ร้อยละ 56.20) มีสมาชิกต่อครัวเรือนเฉลี่ย 3-4 คน เกือบทั้งหมดอาศัยอยู่ในบ้านและที่ดินของตนเอง (ร้อยละ 92.90) ประกอบอาชีพเกษตรกรรมมากที่สุด (ร้อยละ 38.30) แต่มีสัดส่วนรายได้แตกต่างจากกลุ่มตัวอย่างเล็กน้อยคือ ประชากรส่วนใหญ่มีรายได้ระหว่าง 5001-10000 บาทต่อเดือน (ร้อยละ 37.60) แต่กลุ่มตัวอย่างส่วนมากมีรายได้ต่ำกว่า 5,000 บาทต่อเดือน (ร้อยละ 38.90) 2. สุขภาพครอบครัวโดยรวมและรายด้าน การใช้รูปแบบสุขภาพครอบครัวของ เดนแฮม (Denham, 2003) เป็นกรอบแนวคิดในการศึกษาครั้งนี้ สามารถอธิบายสุขภาพของครอบครัวที่อาศัยในจังหวัดอุตรดิตถ์ได้ครอบคลุมดังนี้ 2.1 สุขภาพครอบครัวโดยรวม ครอบครัวที่อาศัยในจังหวัดอุตรดิตถ์มีสุขภาพ โดยรวมอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 70.45) ถึงดีมาก (ร้อยละ 24.78) ซึ่งสอดคล้องกับการจัดอันดับความรู้สึกของประชากรต่อจังหวัดอยู่แล้วเป็นสุข พบว่า อุตรดิตถ์เป็นจังหวัดที่น่าอยู่ที่สุดอันดับ 2รองจาก สุพรรณบุรี (นภดล กรรณิกา, 2554) เนื่องจากเป็นจังหวัดเล็ก ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมใหญ่มาก มีทรัพยากรทางธรรมชาติที่อุดมสมบรูณ์ มีแม่น้ำไหลผ่าน ไม่มีอาชญากรรมที่รุนแรง และมีความเชื่อเรื่องการไม่พูดโกหกของเมืองลับแล 2.2 สุขภาพครอบครัวรายด้าน 1) ด้านสิ่งแวดล้อมของครอบครัวครอบครัวที่อาศัยอยู่ในจังหวัดอุตรดิตถ์ส่วนมากมีสุขภาพครอบครัวด้านสิ่งแวดล้อมในระดับดี (ร้อยละ 55.00) ถึงดีมาก (ร้อยละ37.95)โดยเฉพาะการมีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง ไม่ต้องกังวลว่าจะมีปัญหาไร้ที่อยู่ ได้อาศัยอยู่ในบ้านที่แข็งแรง ทนทาน กันแดดกันฝนได้ และการได้รับความสะดวกด้านสาธารณูปโภค เช่น ถนน น้ำประปา ไฟฟ้า ซึ่งเป็นสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในระดับดีมาก สอดคล้องกับลักษณะการครอบครองที่อยู่อาศัย พบว่าร้อยละ 94.80 มีบ้านเป็นของตนเองทำให้ไม่มีภาระเรื่องค่าเช่าบ้าน ซึ่งครอบครัวที่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่ดี ย่อมส่งผลให้ครอบครัวมีสุขภาพดี สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข สอดคล้องกับการศึกษาของ วีระศักดิ์ มโนวรรณ์ (2547) พบว่าสภาพบ้านเรือนและความปลอดภัยในชีวิตและ ทรัพย์สินเป็นตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตด้านความมั่นคงในการดำเนินชีวิตครอบครัวในระดับสูง 2) ด้านการทำหน้าที่ของครอบครัว ครอบครัวในจังหวัดอุตรดิตถ์ส่วนใหญ่มีสุขภาพด้านการทำหน้าที่ของครอบครัวอยู่ในระดับดี(ร้อยละ 60.22) ถึงดีมาก (ร้อยละ 30.46)โดยเฉพาะการไม่เคยมีความผิดทางกฎหมายของสมาชิกในครอบครัว และการได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันอย่างมีความสุข ในวันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ หรือวันหยุดอื่นๆ เป็นสิ่งที่แสดงถึงการทำหน้าที่ของครอบครัวในระดับดีมาก ซึ่งอธิบายได้ว่า การทำผิดทางกฎหมายเป็นวิกฤตที่ส่งผลกระทบต่อครอบครัวมากเป็นอันดับ 4 รองจาก ปัญหาการตั้งครรภ์ การเลี้ยงดูบุตร และการเจ็บป่วย (พิมภา สุตรา, 2549 หน้า 26) การที่ครอบครัวพยายามทำหน้าที่เพื่อป้องกันมิให้สมาชิกในครอบครัวเข้าไปข้องแวะกับการทำความผิดทางกฎหมายจึงส่งผลโดยตรงต่อความผาสุกในครอบครัว นอกจากนี้การที่สมาชิกได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันหลังจากที่ไดเแยกย้ายกันไปทำมาหากินต่างถิ่น เป็นสิ่งที่สะท้อนถึง ความรัก ความผูกพัน และความอบอุ่นด้วยความบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นความรักในกลุ่มปฐมภูมิ (primary group) อันเป็นลักษณะครอบครัวไทยที่มีความผูกพันทางสายโลหิต (ทัศนีย์ ทองสว่าง, 2549 หน้า 81-88) แม้ว่าครอบครัวโดยมากจะมีสุขภาพด้านการทำหน้าที่ในระดับดีถึงดีมาก แต่ยังมีครอบครัวที่อยู่ในภาวะเสี่ยงถึงร้อยละ 9.2 เนื่องจากมีสุขภาพด้านการทำหน้าที่โดยเฉลี่ยในระดับปานกลาง ซึ่งครอบครัวในกลุ่มนี้ควรได้รับการส่งเสริม และสนับสนุนด้านการทำหน้าที่ของครอบครัวให้ดียิ่งขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันและเฝ้าระวังปัญหาครอบครัวที่อาจเกิดตามมาได้หากต้องเผชิญกับภาวะวิกฤติต่างๆ 3) ด้านกิจวัตรสุขภาพครอบครัว จากการศึกษาพบว่า ครอบครัวในจังหวัดอุตรดิตถ์ส่วนใหญ่มีคะแนนเฉลี่ย ด้านกิจวัตรสุขภาพของครอบครัวอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 73.18) ถึงดีมาก (ร้อยละ 19.09) อาจเนื่องมาจากครอบครัวรู้จักแสวงหาความรู้และสนใจสุขภาพรวมถึงการ ดูแสสุขภาพของสมาชิกในครอบครัวมาก ประกอบกับการเผยแพร่ความรู้ด้านสุขภาพมีเพิ่มมากขึ้น ประชาชนสามารถรับข่าวสารได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็นสื่อมวลชนทุกรูปแบบและ สื่อบุคคล ซึ่งความรู้ที่ครอบครัวได้รับสามารถนำไปปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ ตลอดจนปรับเปลี่ยนแบบแผนการดำเนินชีวิต และพยายามหลีกเลี่ยงในสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของตนเองและสมาชิกในครอบครัว ซึ่งกิจวัตรสุขภาพที่สะท้อนสุขภาพครอบครัวในระดับดีมากนั้นเป็นกิจวัตรเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงและพฤติกรรมการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพครอบครัว ดังเช่น 1) การไม่ใช้สารเสพติดประเภทยาบ้า ยาอี ซึ่งเป็น สารเสพติดที่ร้ายแรง เมื่อบุคคลเสพเข้าสู่ร่างกาย มีผลทำให้ร่างกาย จิตใจอยู่ในสภาพเป็นพิษหรือเรื้อรัง กล่าวคือทำลายสุขภาพให้ทรุดโทรม อารมณ์ไม่ปกติไม่สามารถอยู่ในสังคมได้ รวมทั้งมีผลต่อสังคมที่จะเพิ่มแนวโน้มให้เกิดอุบัติเหตุและการประกอบอาชญากรรม 2) การละเว้นมีเพศสัมพันธ์ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหรือการตั้งครรภ์ที่ไม่ต้องการที่เกิดกับสมาชิกในครอบครัวเป็นเหตุการณ์ที่ครอบครัวรับไม่ได้ โดยเฉพาะเมื่อเกิดกับเด็กวัยเรียน ซึ่งส่งผล กระทบต่อการเรียน ภาวะสุขภาพกายและจิต รวมทั้งผลกระทบต่อศีลธรรม จริยธรรม จากผลของการลักลอบทำแท้งเมื่อตั้งครรภ์ไม่ปรารถนาและบางรายถึงกับเสียชีวิตจากสาเหตุดังกล่าว(สมพร วัฒนนุกุลเกียรติ, 2542, หน้า 47) นอกจากนี้การมีเพศสัมพันธ์ที่เสี่ยงต่อโรค เช่น เอดส์ ซึ่งเป็นโรคที่ร้ายแรงที่ปัจจุบันยังไม่มียารักษาหายขาดได้ ปัจจัยเสี่ยงอันเป็นสาเหตุสำคัญของการติดเชื้อเอดส์สูงสุด คือการมี เพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อโรคเอดส์ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัยรุ่นมาก (สำนักส่งเสริมสุขภาพ ,2540, หน้า 33) และก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม (สาโรจน์ ใจมุข และอังคาร สอนถา ,2548, หน้า 1) ถ้าสมาชิกเป็นวัยแรงงาน เป็นเยาวชนอันเป็นที่รักถูกคุกคามด้วยโรคร้ายนี้ 3) การละเว้น พฤติกรรมที่สุ่มเสี่ยงต่อการชักจูงเชื่อมโยงไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัยและการประพฤติผิดทางเพศจากอิทธิพลของสื่อที่ยั่วยุทางอารมณ์เช่น การอ่านหนังสือการ์ตูน ดูซีดี หรืออินเตอร์เน็ตที่มีภาพโป๊เปลือย ครอบครัวซึ่งเป็นด่านแรกที่คอยสอดส่องดูแลสุขภาพสมาชิกในครอบครัวการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ที่คุกคามสุขภาพของครอบครัวเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ที่เสี่ยงต่อโรคและการตั้งครรภ์ที่ไม่ต้องการจึงถือเป็นกิจวัตรสุขภาพของครอบครัวที่ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก 4) การไม่ทะเลาะวิวาทหรือทำร้ายร่างกายกันในครอบครัว เป็นการแสดงพฤติกรรมเชิงแลกเปลี่ยนความเอื้ออาทรในการพิทักษ์คุ้มครองซึ่งกันและกันอย่างสม่ำเสมอของสมาชิกในครอบครัว ถือเป็นคุณลักษณะสำคัญของครอบครัวที่มีสุขภาพดี การอบรมเลี้ยงดูจากครอบครัวและการให้การศึกษามีอิทธิพลต่อระดับคุณภาพของคนและบุคลิกภาพซึ่งรวมทั้งค่านิยม เจตคติ พฤติกรรม และวิถีชีวิตของสมาชิกในครอบครัว (พิมพา สุตรา, 2541, หน้า 24) 5) การที่สมาชิกในครอบครัวไม่คบหากับเพื่อนที่ประพฤติตัวเกเร เช่น กลุ่มเด็กที่มั่วสุมทางเพศ ยาเสพติด และการพนัน กลุ่มแข่งรถมอเตอร์ไซด์บนถนนสาธารณะ กลุ่มที่ชอบ ความรุนแรงและการทะเลาะวิวาท เป็นต้น หากสมาชิกในครอบครัวไม่คบหากับกลุ่มเพื่อที่มีพฤติกรรมเหล่านี้ ก็ย่อมเป็นการป้องกันอันตรายและสิ่งไม่ดีจากบุคคลภายนอกเข้าสู่ ครอบครัว ซึ่งเป็นปัญหาที่ยากต่อการแก้ไขของครอบครัวที่มีบุตรวัยรุ่นในปัจจุบัน 6) การแปรงฟัน อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ในตอนเช้าและก่อนเข้านอน เป็นกิจวัตรสุขภาพที่ถูกปลูกฝังมา ตั้งแต่วัยเด็กและเป็นกิจกรรมแรกสุดหลังการตื่นนอน การรักษาสุขภาพช่องปากให้สะอาดนอกจากจะมีความสำคัญต่อภาวะสุขภาพด้านร่างกายโดยทั่วไปแล้ว ยังมีความสำคัญ ต่อการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น เนื่องจากการไม่มีกลิ่นปากช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้กับตนเองในการสื่อสารกับผู้อื่น การเข้าสังคมและการประกอบอาชีพ และกิจวัตรสุขภาพสุดท้ายที่มีคะแนนเฉลี่ยในระดับดีมาก คือ 7) การปิดวาวเตาแก๊สหรือดับไฟเตาถ่านให้สนิทหลังทำกับข้าวเสร็จแล้วเป็นการป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับชีวิตและทรัพย์สินของครอบครัวที่สะสมมาเป็นเวลานาน และสิ่งมีค่าที่สุดในชีวิตคือบ้าน การป้องกันอันตรายจากเพลิงไหม้จึงเป็นกิจวัตรสุขภาพครอบครัวที่ครอบครัวให้ความสำคัญมากที่สุดเช่นกัน แม้ว่าครอบครัวโดยมากจะมีกิจวัตรสุขภาพในระดับดีถึงดีมาก แต่ยังมีครอบครัวที่อยู่ในภาวะเสี่ยงถึงร้อยละ 7.73 ที่ต้องปรับปรุงกิจวัตรเกี่ยวกับพฤติกรรมการกินขนมถุงกรุบกรอบ น้ำอัดลม หรือผลไม้ดอง และ ออกกำลังกายเป็นประจำ เนื่องจากมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งการกินอาหารประเภทขนมกรุบกรอบ และน้ำอัดลมเป็นประจำ ร่วมกับการไม่ออกกำลังกายเป็นประจำ จะทำให้เกิดปัญหาโรคอ้วน เบาหวาน และความดันโลหิตสูงตามมา(กระทรวงสาธารณสุข, 2548,หน้า 106-107) ส่วนการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของครอบครัวในแต่ละเดือน ซึ่งเป็นกิจวัตรที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด สะท้อนให้เห็นถึงครอบครัวในจังหวัดอุตรดิตถ์ยังมีความสุ่มเสี่ยงในเรื่องการบริหารจัดการเศรษฐกิจในครอบครัว กล่าวโดยสรุป ครอบครัวในจังหวัดอุตรดิตถ์โดยมากมีภาวะสุขภาพทั้งโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับดีถึงดีมาก แต่ก็มีครอบครัวจำนวนไม่น้อยที่มีภาวะสุขภาพในระดับปานกลาง ซึ่งพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนต้องให้การดูแลช่วยเหลือ โดยเฉพาะครอบครัวที่มีสุขภาพรายข้อต่ำกว่าระดับดี ข้อเสนอแนะ 1. การนำผลการศึกษาไปใช้ 1. ควรส่งเสริมให้มีสถานที่ที่เป็นส่วนรวมของชุมชนสำหรับใช้ในการออกกำลังกายและการพักผ่อนหย่อนใจกระจาย ให้ทั่วถึงอย่างน้อยชุมชนละ 1 แห่ง ตามสภาพความเหมาะสมของแต่ละชุมชน เพื่อให้ครอบครัวใช้เป็นที่พักผ่อนและเป็นศูนย์รวมให้ครอบครัวในแต่ละชุมชนใช้ทำกิจกรรมสันทนาการร่วมกัน อันจะนำไปสู่ความเข้มแข็งของครอบครัวและชุมชนต่อไป 2. หน่วยงานภาครัฐระดับท้องถิ่น เช่น อบต. อบจ. หรือเทศบาล ควรค้นหาและหาแนวทางช่วยเหลือครอบครัวที่มีรายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่าย โดยสร้างความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กรมพัฒนาชุมชน และสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในการให้ความช่วยเหลือครอบครัว 3. ส่งเสริมให้มีการทำบัญชีรายรับรายจ่ายของครอบครัวในแต่ละเดือน ภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการการให้ความรู้ในการจัดทำบัญชีรายรับ- รายจ่ายของครอบครัวให้ครอบคลุมทุกครอบครัว 4. ควรมีการรณรงค์ให้ความรู้และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตนเองอย่างต่อเนื่องแก่กลุ่มเยาวชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อยาเสพติด เพศสัมพันธ์ การเรียน และ การรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ผ่านสื่อทุกประเภทเพื่อให้กลุ่มเยาวชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง ทันสมัย และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยเฉพาะโทษของสารกระตุ้นประสาท เช่น ยาบ้า ยาอี การมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย 5. ควรมีการให้ความรู้ทางด้านการสื่อสารวิธีการสื่อความหมาย การใช้คำสั่งและ การอบรมสั่งสอนสมาชิกในครอบครัว โดยเฉพาะครอบครัวที่มีบุตรเป็นเยาวชน เนื่องความเจริญด้านเทคโนโลยี ไอที การสื่อสารเจริญมากขึ้น ทำให้เยาวชนสมาชิกของครอบครัวมีการสื่อสารกับพ่อ แม่ปู่ย่า ตายายไม่ทันกันเพราะการศึกษาต่างกัน ประกอบกับการเลี้ยงดูของพ่อแม่ยังยึดหลักการเลี้ยงดูแบบเดิมๆ อาจทำให้การสื่อสารของสมาชิกในครอบครัวมีความเห็นแตกต่างกันได้ทั้งที่คุยในเรื่องเดียวกัน 2. การทำวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรมีการศึกษาเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาถึงสุขภาพครอบครัวโดยมองผ่านกิจวัตรสุขภาพของครอบครัว การทำหน้าที่ของครอบครัว ท่ามกลางบริบทหรือสิ่งแวดล้อมภายในและภายนอกครอบครัวของครอบครัว ในครอบครัวชนบทและเขตเมือง 2. ควรศึกษาถึงปัจจัยภายนอกครอบครัวที่มีผลต่อภาวะสุขภาพครอบครัวทั้งโดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการทำหน้าที่ และด้านกิจวัตรสุขภาพของครอบครัว 3. ควรมีการศึกษาปรากฏการณ์ของสุขภาพครอบครัวโดยมองผ่านกิจวัตรสุขภาพ การทำหน้าที่ของครอบครัวเมื่อสมาชิก ในครอบครัวเกิดเจ็บป่วยด้วยโรคทั่วไปและโรคเรื้อรัง เอกสารอ้างอิง กระทรวงสาธารณสุข. (2548). การสาธารณสุขไทย 2548-2550. สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2551 จาก http://www.moph.go.th/ops/health_50/2548_2550.html. ทัศนีย์ ทองสว่าง. (2549). สังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์. นภดล กรรณิกา. (2554). การจัดอันดับความรู้สึกของประชาชนต่อจังหวัดอยู่แล้วเป็นสุข.กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ. บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2547). ระเบียบวิธีการ วิจัยทางพยาบาลศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3).กรุงเทพฯ: ยูแอนโอ อินเตอร์มีเดีย. พิมภา สุตรา. (2541). การพยาบาลครอบครัว: ครอบครัวระยะมีบุตรวัยรุ่น.ขอนแก่น: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. พิมภา สุตรา, ลัดดา เหมาะสุวรรณ, จิราพร ชมพิกุล และภัทรา สง่า. (2549). ภาวะวิกฤตในครอบครัวไทย. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 29(2), 26-36. วีระศักดิ์ มโนวรรณ์. (2547). คุณภาพชีวิตของประชาชนตอนกลางลุ่มแม่น้ำอิง ด้านความมั่นคงในการดำเนินชีวิตในครอบครัวและชุมชน : กรณีศึกษา อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย. ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชการ. ( 2551). แบบสรุปการสำรวจข้อมูลประชากร ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2551. อุตรดิตถ์: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์. สมพร วัฒนนุกุลเกียรติ.(2542). การตั้งครรภ์ไม่ ตั้งใจ: บทบาทของใครที่ต้องทบทวน. วารสารศูนย์บริการวิชาการ, 7(4),47-53. สาโรจน์ ใจมุข, อังคาร สอนถา (ผู้บรรยาย). (6-8 กรกฎาคม 2548). สุขภาพจิต ผสมผสานงานเอดส์เน้นคุณภาพชีวิตและชุมชน. ใน การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติครั้งที่ 4 เรื่องสุขภาพจิตกับภัยพิบัติ (หน้า 58-60).กรุงเทพฯ: กรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข. สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. (2547). นโยบายและยุทธ์ศาสตร์การพัฒนาสถาบัน ครอบครัวพ.ศ. 2547-2556. กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดอุตรดิตถ์. (2552). รายงานสถานการณ์ทางสังคมจังหวัดอุตรดิตถ์ ปี2551. อุตรดิตถ์: สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ มนุษย์จังหวัดอุตรดิตถ์. (2553). รายงานสถานการณ์ ทางสังคมจังหวัดอุตรดิตถ์ ปี2552. อุตรดิตถ์: สำนักงานพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2549). สถานการณ์ครอบครัวไทย. กรุงเทพฯ: สำนักสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สำนักส่งเสริมสุขภาพ.(2540). การศึกษา ผลการวิจัยและแนวทางการ เสริมสร้างครอบครัว ที่พึงประสงค์ของไทย. กรุงเทพฯ: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. อรวรรณ สุวิทยาพันธุ์. (2547). ผลของการใช้รูปแบบการประเมินสุขภาพของแคลการี่ต่อความสามารถในการประเมินสุขภาพครอบครัวของพยาบาล. วิทยานิพนธ์ พย.ม., มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี. Denham, Sharon A. (2003). Family Health A Framework for Nursing. Philadelphia: F.A.Davis.